ในขณะที่ผู้คนทั่วโลกยกย่อง"มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก"ในฐานะ"ผู้นำเครือข่ายชุมชมออนไลน์ที่มีอิทธิพลทรงพลังอย่าง"เฟซบุ๊ค" เมื่อย้อนมองไปที่ญี่ปุ่น เชื่อหรือไม่ ชาวแดนปลาดิบก็ได้ชื่อว่ามี"มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก"แห่งแดนอาทิตย์อุทัยอย่างน่าทึ่งเช่นกัน บุรุษผู้นี้มีนามว่า "โยชิกาซุ ทานากะ หนุ่มไฟแรงผู้มีแนวคิดกล้าลุย วัย 35 ปี ที่ผันกลายเป็นเจ้าพ่ออุตสาหกรรมธุรกิจยอดฮิต หรือ"Gree"อาณาจักรเกมส์ทางโทรศัพท์มือถือที่ฮิตอย่างแรงในสังคมปลาดิบ ณ วินาทีนี้ปัจจุบัน โดยความสำเร็จที่เกิดขึ้น ทำให้"มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก"แห่งแดนปลาดิบผู้นี้ มีทรัพย์สินรายได้เป็นเงิน 2,200 ล้านดอลลาร์ ซึ่งธุรกิจของเขาได้เติบโตจากโครงการที่ใช้"เงินตัวเอง"ลงทุน จนกลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าตลาดราว 7,000 ล้านดอลลาร์ โดยมูลค่าหุ้นได้ถีบตัวสูงเป็นเจ็ดเท่านับตั้งแต่กระจายหุ้นให้สาธารณะเข้า ซื้อเมื่อปี 2008 ปัจจุบัน "Gree"จับมือเป็นพันธมิตรกับ"Tencont"หนึ่งในเครือข่ายชุมชนออนไลน์ใหญ่ที่ สุดของจีน โดยก่อนหน้านั้น Gree ได้เข้าเทคกิจการ"OpenFeint"เครือข่ายเกมส์ขนาดใหญ่ที่ต้ังอยู่ในสหรัฐ ขณะที่"ทานากะ"ยังมองการณ์ไกลไปตามลำดับ เพราะเขากำลังเล็งจะให้"Gree"เข้าไปฮิตแพร่หลายในยุโรป สหรัฐ หรือประเทศตลาดเกิดใหม่อย่างบราซิล เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการเป็นหลักพันล้านคน ที่สูงกว่าตัวเลขปัจจุบัน 5 เท่าตัว "Gree"คือเครือข่ายออนไลน์ใหญ่ที่สุดของ ญี่ปุ่น ตามหลังยาฮู,โมยาเก้ และมิซี่ โดยบริษัทได้มุ่งเน้นให้บริการด้านเกมส์ออนไลน์ โดยกว่า 90 % ของผู้ใช้บริการมาจากการเล่นเกมส์ออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือ โดยบริษัทยังได้สร้างรายได้ต่อยอดจากการขายสินค้าเกมส์ต่างๆ ด้วย ขณะเดียวกัน ถามว่า อะไรคือความสำเร็จของ"มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก"แห่งแดนอาทิตย์อุทัย คำตอบออกจะน่าประหลาดใจ เพราะเขาสร้างธุรกิจที่ทวนกระแสภาวะเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในประเทศ จนผงาดกลายเป็นอาณาจักรเกมส์ทางมือถือที่ฮิตอย่างแพร่หลายในขณะนี้ โดยที่ผ่านมา เศรษฐกิจญี่ปุ่นได้เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวเป็นทศวรรษที่สาม ขณะที่ธุรกิจยักษ์ใหญ่อย่าง"โซนี่" พานาโซนิค และโตโยต้า"ก็ต้องเผชิญกับภาวะขาดทุนเป็นประวัติการณ์ ไม่นับรวมเหตุการณ์สึนามิและแผ่นดินไหวถล่ม และวิกฤตโรงงานนิวเคลียร์ฟูกูชิม่า ที่ทำให้ภาพลักษณ์ของเศรษฐกิจญี่ปุ่นดูมืดมน โดยบริษัทอย่างโซนี่ คาดว่าจะคาดทุนเกือบ 3 พันล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม ทานากะมองว่า ความอ่อนแอของบริษัทญี่ปุ่นมาจากทัศนคติที่"คับแคบ" เขาเชื่อว่าปัญหาก็คือ ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากไม่สามารถยอมรับความจริงได้ว่า ชาวญี่ปุ่นไม่สามารถอยู่รอดได้โดยไม่แข่งขันในระดับโลก นอกจากนี้ เขายังมองว่า ที่ผ่านมา ผู้คนบอกว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างธุรกิจจากการถอนตัวจากโลกภายนอก แต่สำหรับ"Gree"เราทำได้ และกลายเป็นธุรกิจเกมส์ที่ประสบความสำเร็จภายในระยะเวลาเพียง 7 ปี และว่า เขาหวังว่า อาณาจักรธุรกิจเกมส์ที่ประสบความสำเร็จของเขา จะกลายเป็นแบบอย่างของการฟื้นตัวสู่ความสำเร็จของธุรกิจอื่นๆ ของญี่ปุ่นด้วย ที่ผ่านมา ทานากะ ยอมรับว่า เขาถูกนำไปเปรียบเทียบกับ"มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก"ในฐานะผู้บุกเบิกสิ่งแปลกใหม่ ซึ่งเขามองว่า เขาและซัคเคอร์เบิร์ก มีแนวทางเหมือนกันอยู่บางอย่าง นั่นคือ มองว่า การทำธุรกิจเป็นมากกว่าแค่การมุ่งเน้นเงินทอง และนั่นทำให้เฟซบุ๊คใหญ่ขึ้นๆ เพียงพอที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม ขณะที่"Gree"เอง ก็สามารถเปลี่ยนสังคมญี่ปุ่นได้ ด้วยวิถีของตัวเอง อย่างไรก็ตาม เขาไม่รู้ว่า อุตสาหกรรมเกมส์ของเขา จะสามารถ"ชุบชีวิต"ให้แก่บรรดาบริษัทญี่ปุ่นได้หรือไม่ แต่เขาเชื่อว่า มีธุรกิจบางแห่งจะสามารถฝ่าอุปสรรคขึ้นมาแจ้งเกิดได้ในสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอ ตัวของญี่ปุ่นในขณะนี้
ข้อมูลจาก มติชน ออนไลน์ |
< ย้อนกลับ | ถัดไป > |
---|