วันนี้เราจะมาดูเรื่องที่หลายๆคนอาจจะคิดว่าไกลตัว แต่จริงๆแล้วเป็นสิ่งที่ไม่ไกลตัวเลยนะครับ โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่คิดจะไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่นแล้ว ควรจะรู้เอาไว้เป็นอย่างยิ่ง นั่นก็คือ· ระบบการศึกษาในประเทศญี่ปุ่น หรือที่เราเรียกกันในภาษาญี่ปุ่นว่า 日本教育制度
ระบบการศึกษาของญี่ปุ่นนั้น ถ้ามองจากภายนอกแล้วดูคล้ายๆบ้านเราเลยครับ แทบจะไม่ต่างกันเลย จุดที่ต่างกันมากที่สุดคือ การศึกษาภาคบังคับ ที่ญี่ปุ่นบังคับถึงแค่ ม.3 แต่ของคนไทยบังคับจนถึง ม.6 บางคนได้ฟังแบบนี้แล้วตกใจ เพราะว่าไม่น่าเชื่อว่า ประเทศที่เจริญและมี GDP เป็นอันดับสองของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา นั้นจะมีการศึกษาภาคบังคับถึงแค่ ม.3 แต่สิ่งนั้นคือความจริงครับ และจุดนี้เองที่เป็นจุดที่อาจจะทำให้ประเทศญี่ปุ่นนั้นพัฒนาเป็นอย่างมากก็เป็นได้
Nature ของคนญี่ปุ่นนั้น อาจารย์ต้องบอกไว้ก่อนเลยนะครับ ว่าไม่เหมือนคนไทย สังคมไทยเรามีค่านิยมในการศึกษาที่ค่อนข้างยึดติดกับวุฒิมาก โดยเฉพาะในปัจจุบัน ที่อย่างน้อยๆต้องจบปริญญาตรี และถึงแม้จบมา บางคนก็อาจจะหางานทำไม่ได้ อาจจะเป็นเพราะเป็นสาขาที่มีคนจบเยอะ หรือเหตุผลต่างๆนาๆ (ยกเว้นบางสาขาที่เป็นสาขาเฉพาะทาง เช่นแพทย์ การทูต หรือแม้แต่สาขาภาษาญี่ปุ่นเองก็มีความต้องการงานสูงมากเช่นกันนะครับ) แต่ที่ญี่ปุ่นนั้น ถ้าเป็นบุคคลที่รู้จริงหรือได้ไปสัมผัสตรงนั้นจริงๆแล้ว จะพบว่า สังคมญี่ปุ่นไม่ให้ความสำคัญกับปริญญาเท่าบ้านเราครับ ทำให้หลายๆคน เลือกที่จะไปเรียนต่อสายอาชีพ หรือที่เรียกกันว่า 専門 กันเยอะมาก จุดนี้เป็นค่านิยมที่แตกต่างกันมากระหว่าง ประเทศไทยและญี่ปุ่นครับ
เราลองมาดูระบบการศึกษาของญี่ปุ่นกันเลยนะครับ |
การศึกษาของญี่ปุ่นแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับคือ |
|
ระดับชั้น | ป.1 | ป.2 | ป.3 | ป.4 | ป.5 | ป.6 | ม.1 | ม.2 | ม.3 | ม.4 | ม.5 | ม.6 | ปี1 | ปี2 | ปี3 | ปี4 | ป.โท1 | ป.โท2 | ป.เอก1 | ป.เอก2 | ป.เอก3 | ป.เอก4 |
ระดับ | อนุบาล | ประถมศึกษา | มัธยมศึกษา | อุดมศึกษา |
- - - - - - - การศึกษาภาคบังคับ- - - - - - - - |
* * * * * * * * *การศึกษาระดับสูง * * * * * * * * |
ในประเทศญี่ปุ่น การศึกษานับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งครับ เด็กญี่ปุ่นทุกคนต้องเข้าเรียนตั้งแต่อายุ 6 ขวบ และถูกกำหนดให้ต้องผ่านการศึกษาภาคบังคับเป็นเวลา 9 ปี คือจบมัธยมศึกษาตอนต้น อย่างไรก็ตาม เด็กญี่ปุ่นมากกว่า 90% ศึกษาต่อจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยที่สามในสี่เข้าเรียนในโรงเรียนมัธยมปลายสายสามัญ ในขณะที่หนึ่งในสี่งที่หลือเข้าเรียนในสายอาชีพ เช่นวิทยาลัยเทคนิค และวิทยาลัยอาชีวศึกษา 25% ของผู้เรียนจบชั้นมัธยมปลายจะไปศึกษาต่อในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย ในขณะที่อีกหลายคนเลือกที่จะไปศึกษาในวิทยาลัยระดับอนุปริญญา วิทยาลัยเทคนิค หรือวิทยาลัยอาชีวศึกษา (หลักสูตรวิชาชีพชั้นสูง) จากตัวเลขตรงนี้ คงจะตกใจกันนะครับว่า เพียงแค่ 25% ของผู้ที่จบมปลาย จะไปต่อ มหาวิทยาลัย ซึ่งนับเป็นอัตราที่น้อยมากเมื่อเทียบกับคนจบทั้งหมด เหตุผลจากที่อาจารย์ได้กล่าวไว้แล้วในตอนนั้นนะครับว่า คนญี่ปุ่นจะเน้นประสบการณ์ความสามารถมากกว่า ค่านิยมในปริญญา ดังนั้น คนญี่ปุ่นก็เลยเลือกที่จะเรียนสายอาชีพกันเยอะมากๆ ทำให้คนที่จบออกมาเก่งในสายงานด้านนั้นๆ ครับ คือเขาจบเฉพาะทางในด้านนั้นๆมาเลย รวมถึงการสั่งสมประสบการณ์ ทำให้เขาเชี่ยวชาญในด้านนั้นๆเป็นอย่างมาก เหตุผลนี้จึงเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ญี่ปุ่นพัฒนาได้อย่างเร็วมาก |
การศึกษาระดับสูงในญี่ปุ่นนั้นเริ่มต้นหลังจากผ่านการศึกษาในระดับโรงเรียน มาแล้ว 12 ปี คือจบมัธยมศึกษาตอนปลาย ดังนั้นนักศึกษาไทยที่ประสงค์จะศึกษาต่อระดับสูงในประเทศญี่ปุ่น จะต้องสำเร็จการศึกษาอย่างน้อย 12 ปีในประเทศเสียก่อน ( จบม.6 ) ซึ่งสถาบันที่นักศึกษาสามารถเข้าศึกษาต่อได้นั้น แบ่งประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้ |
มหาวิทยาลัย | นักศึกษาภาคปกติ โดยทั่วไปจะใช้เวลาในการศึกษา 4 ปี ยกเว้นคณะแพทยศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ และสัตวแพทยศาสตร์ จะใช้เวลาศึกษาทั้งสิ้นรวม 6 ปี นักศึกษาเวลาพิเศษประเภทไม่รับหน่วยกิต (Auditors) สามารถเลือกเรียนวิชาต่างๆ ได้ แต่คุณสมบัติของนักศึกษาและวิชาที่เปิดให้เข้าเรียน จะแตกต่างไปตามแต่ละมหาวิทยาลัย นักศึกษาประเภทนี้จะไม่ได้รับหน่วยกิต นักศึกษาเวลาพิเศษประเภทได้รับหน่วยกิต รายละเอียดเช่นเดียวกับนักศึกษาเวลาพิเศษประเภทแรก แต่นักศึกษาประเภทนี้จะได้รับหน่วยกิต |
|
บัณฑิตวิทยาลัย |
บัณฑิตวิทยาลัยจัดแบ่งการศึกษาออกเป็นระดับปริญญาโท และปริญญาเอก บางแห่งยังเปิดรับนักศึกษาวิจัย และนักศึกษาเวลาพิเศษประเภทไม่ได้รับหน่วยกิต และประเภทได้รับหน่วยกิต |
|
วิทยาลัย | หลักสูตร การศึกษาระดับวิทยาลัยโดยทั่วไปจะมีระยะเวลา 2 ปี เช่นเดียวกัน กับ Junior Colleges ในสหรัฐอเมริกา แต่มีบางสาขาวิชากำหนดหลักสูตรไว้ 3 ปีเช่นสาขาพยาบาลศาสตร์ ประมาณ 60% ของวิทยาลัยในญี่ปุ่นทั้งหมดเป็น วิทยาลัยเฉพาะผู้หญิง ซึ่งประกอบไปด้วยสาขาทางด้านคหกรรมศาสตร์ อักษรศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ สุขศึกษาศาสตร์ บริหารธุรกิจ และเลขานุการ ในปัจจุบันนี้ วิชาวิทยาศาสตร์ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น |
|
|
ปีการศึกษา |
|
ภาคต้น |
เดือนเมษายน - เดือนกันยายน |
ภาคปลาย |
เดือนตุลาคม - เดือนมีนาคม |
การปิดภาคการศึกษานั้น จะแตกต่างกันไปตามมหาวิทยาลัยหรือคณะ แต่โดยทั่วไปแล้ว จะมีช่วงปิดภาค 3 ครั้ง ใน 1 ปีคือ |
ปิดฤดูร้อน |
ต้นเดือนกรกฎาคม - ปลายเดือนสิงหาคม |
ปิดฤดูหนาว |
ปลายเดือนธันวาคม - ต้นเดือนมกราคม |
ปิดฤดูใบไม้ผลิ |
ปลายเดือนกุมภาพันธ์ - ต้นเดือนเมษายน |
หมายเหตุ : มีมหาวิทยาลัยเพียงไม่กี่แห่งที่มีการรับนักศึกษาเข้าเรียนในเดือนตุลาคมของการศึกษาภาคปลาย |
ช่วงเวลาการรับสมัคร |
โดยทั่วไป สถาบันการศึกษาระดับสูงในญี่ปุ่น จะประกาศรับสมัครนักศึกษาเป็นสองรอบ รอบแรกคือในช่วงเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคมของทุกปี วันหมดเขตการรับสมัครจะแตกต่างกันไปตามสถาบันหรือคณะ บางแห่งจะเร็วคืออยู่ในช่วงเดือนสิงหาคมหรือกันยายน ส่วนในรอบที่สอง ก็จะเป็นในช่วงพฤษจิกายน ไปจนถึงเดือนมกราคมหรือกุมภาพันธ์ ในกรณีที่สมัครไปจากประเทศไทยก็มีความจำเป็นที่จะต้องเผื่อเวลา สำหรับการส่งเอกสารทางไปรษณีย์ด้วย เพื่อที่จะส่งให้ถึงก่อนวันหมดเขตในระยะเวลาพอสมควร ในตอนนี้หลายๆคนคงได้รู้ถึงระบบการศึกษาของญี่ปุ่น รวมไปถึงเป็นแนวทางว่าตนเองนั้นถ้าได้ไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่น จะไปเรียนต่อในด้านไหนๆ อาจารย์หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์แก่ผู้เรียนไม่มากก็น้อยนะครับ ในตอนต่อไป เราจะมาเจาะลึกกันว่า โรงเรียน専門หรือโรงเรียนเฉพาะทางนั้น ถ้าเราอยากจะไปเรียนเราจะต้องทำอย่างไร แล้วเขาเปิดสอนสาขาอะไรบ้างหละ คอยติดตามกับ ระบบการศึกษาของญี่ปุ่น เรื่องใกล้ตัวสำหรับคนที่คิดจะไปเรียนต่อที่ญี่ปุ่นต้องรู้ ตอนที่สอง โรงเรียน専門 กันได้ตามหน้าเวป www.ajarnbank.com แห่งนี้นะครับ รับรองไม่นานเกินรอแน่นอน เนื้อเรื่อง โดย อาจารย์แบงค์ ภาพ โดย ทีมงานโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นอาจารย์แบงค์ www.ajarnbank.com |
< ย้อนกลับ | ถัดไป > |
---|