เกริ่นนำโดย ทีมงานโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นอาจารย์แบงค์ เสร็จจากการทำงาน ก็ได้เวลาสังสรรค์กัน บรรยากาศสบายๆ ตอนหลังเลิกงานถ้าได้จิบเบียร์เย็นๆ ก็คงจะชื่นใจใครต่อใครหลายๆคน เบียร์ถือเป็นสินค้าที่ขายดีเป็นอันดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นเทศกาลหรืองานเลี้ยงสังสรรค์ต่างๆ เบียร์ก็จะต้องเป็นส่วนหนึ่งของงานนั้นด้วย วันนี้เราจะพาไปดูเบียร์ของญี่ปุ่น ที่เด็กสามารถทานได้ เพราะอะไรนั้นหาคำตอบได้จากที่นี่ |
ญี่ปุ่น รู้จักเบียร์จากชาว Dutch ที่มาค้าขายทางใต้แถบ Nagasaki เบียร์ยี่ห้อแรกๆของญี่ปุ่นคือ Shinagawa (品川縣麦酒 – Shinagawa Ken Biiru) เริ่มผลิตตั้งแต่ปี 1869 จนถึงปัจจุบัน ทุกวันนี้คนญี่ปุ่นดื่มเบียร์ เป็นสัดส่วนถึง 40% ของเครื่องดื่มน้ำเมาทั้งหมด โดยกินเฉพาะเบียร์อย่างเดียวปีละ 6,500 ล้านลิตร เฉลี่ยแล้ว ดื่มเบียร์ คนละ 50 กว่าลิตรต่อปี แม้ว่าเบียร์ญี่ปุ่น 4 ยี่ห้อหลักคือ Kirin (กิเลน) Asahi Suntory และ Supporo จะกินตลาดรวมกันไปแล้วกว่า 96% แต่ก็ยังมีเบียร์ท้องถิ่นและ Micro Brewery อยู่อีกเป็นร้อยแห่งทั่วประเทศ ทำให้ตลาด เบียร์ญี่ปุ่น มี Segment ยุบยับไปหมด มีแม้กระทั่ง เบียร์เด็ก หรือเบียร์ (ปลอม) สำหรับเด็ก (こども の のみもの – Kodomo no Nomimono) ก็ตาม |
ญี่ปุ่นยังมีสูตรการเก็บภาษีเครื่องดื่มน้ำเมาประเภทนี้เฉพาะตัว นั่นคือเก็บตามปริมาณส่วนผสมของ Malt ถ้ามี Malt มากก็จะเสียภาษีมาก ยกตัวอย่างเบียร์ 1 ขวดราคา 337 เยน จะเป็นภาษีรวมแล้วถึง 157 เยน หรือ 47% เลยทีเดียว แต่ถ้าส่วนผสมของ Malt ต่ำกว่า 67% จะเสียภาษีถูกลงเหลือเพียง 36% เท่านั้น ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าห้ามเขียนที่ขวดหรือกระป๋องว่าเบียร์ (ビール) ต้องใช้คำอื่นแทน ดังนั้นถ้าอยากจะกินเบียร์แท้ๆแบบต้นตำรับ จึงต้องสังเกตคำว่า ビール ให้ดีก่อนซื้อ ผู้ผลิต เบียร์ญี่ปุ่น จึงหนีมาผลิต Low-Malt Beer มากขึ้นโดย Segment นี้มีชื่อว่า Happoushu (発泡酒) คือ เหล้าที่มีฟอง มาจากคำว่า Happou 発泡 (はっぽう) ที่แปลว่า เป็นฟอง ส่วนคำว่า Shu 酒 (シュ) นั้นก็คือ เหล้า ที่ปกติเราอ่านว่า Sake (さけ) นั่นเอง |
หลังจากนั้นในปี 2004 ก็มี เบียร์ญี่ปุ่น Low-Malt อีก Segment โผล่ขึ้นมา เรียกว่า Happousei (発泡性) โดยใช้คำว่า Sei 性 (せい) ที่แปลว่าประเภท แทนคำว่า Shu 酒 (シュ) เนื่องจากมันถูกผลิตโดยใช้วัตถุดิบส่วนใหญ่จาก ถั่วเหลือง ข้าว ข้าวโพด มันฝรั่ง แทนการใช้ Malt เบียร์ Happousei นี้ถูกเรียกว่าเป็น Third Generation Beer หรือ เบียร์ญี่ปุ่น รุ่นหลาน กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะราคาที่ถูกกว่า สังเกตได้จากที่กระป๋องจะเขียนคำว่า Liquor (リキュール) แทน แต่ก็ไม่วายที่จะแอบใส่รูปรวงข้าว Barley บนกระป๋องให้เข้าใจว่าเป็นรสชาติเบียร์เหมือนเดิม ในระยะหลัง เบียร์ญี่ปุ่น ถูก Position ให้เป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพมากขึ้น จะพบเห็นคำที่ฟังแล้วดูดีคือคำว่า Zero ปรากฎอยู่ตามโฆษณาในที่ต่างๆทั่วไป และมี เบียร์ญี่ปุ่น แบบ Zero ให้เห็นอยู่หลายรุ่น เช่น Zero Alcohol คือ เบียร์ที่ไม่มี Alcohol |
ขอบคุณข้อมูลจาก juniperz /teen.mthai.com |
< ย้อนกลับ | ถัดไป > |
---|