-
Section:
News -
-
สอนภาษาญี่ปุ่น
มาถึงตอนที่ 7 กันแล้วนะครับ สำหรับคอลัมน์สอนภาษาญี่ปุ่นระดับ N1 ในปีนี้ถือเป็นปีแรกที่สอบในระบบใหม่ ผู้เรียนหลายคนอาจจะตื่นเต้น และยังไม่รู้ว่าจะเริ่มอ่านหนังสือยังไงดี อาจารย์ แนะนําให้อย่าตื่นเต้นนะครับ ภาษาญี่ปุ่นยังไงก็คือภาษาญี่ปุ่น ถึงรูปแบบข้อสอบบางส่วนจะเปลี่ยน แต่หลักไวยากรณ์ คําศัพท์ รวมถึงคันจิก็ยังเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนไป ส่วนที่เหลือเราก็ต้องไปเตรียมตัวฝึกทําข้อสอบในรูปแบบใหม่ ทีนี้ถึงรูปแบบข้อสอบจะเปลี่ยนไป แต่เราก็สามารถสอบผ่านได้อย่างสบายนะครับ ในคอลันม์นี้ จะเขียนเชื่อโยงถึง ในระดับ N1 ,N2 เนื่องมากจากเป็นไวยากรณ์ที่ออกข้อสอบบ่อยๆในทั้งสองระดับ จะเป็นไวยากรณ์ตัวไหนเราไปดูกันเลยนะครับ
สอนภาษาญี่ปุ่นระดับ N2 ตอนที่ 7 Update 1/5/2010
|
ไวยากรณ์นี้ เป็นหนึ่งในไวยากรณ์ระดับ N2 ที่มีผู้เรียนผิดกันบ่อยมากนะครับ อาจารย์จะเน้นกับลูกศิษย์เสมอๆในไวยากรณ์ที่คล้ายกัน 2 ตัวนี้ ซึ่งก็คือ を限
を限( = ถือว่าครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย (ครั้งต่อหรือนับจากนี้ต่อไปจะไม่มีอีก)
に限( = เฉพาะแต่ … เท่านั้น (เฉพาะแต่ในครั้งนี้ โดยครั้งหน้าก็อาจจะมีโอกาสเกิดอีกได้)
นอก จากนี้ จะมีหลายกรณีที่จะใช้กับเหตุการณ์ในเชิงลบ หรือไม่ค่อยดี โดยจะเป็นการเน้นถึงความรู้สึกว่าตอนเวลาปกติไม่ค่อยเกิด แต่เฉพาะเวลาแบบนี้ดันเกิด
สังเกต นะครับว่า ความหมายของไวยากรณ์ทั้งสองตัวนั้นคล้ายกันมาก ในหลายๆที่สอนไวยากรณ์สองตัวนี้ด้วยคำแปลที่คล้ายกัน และแยกไม่ออกว่าไวยากรณ์ทั้งสองแตกต่างกันอย่างไร ทำให้ตอนสอบ หรือตอนใช้เอาไปพูดจริง ผิดสถานการณ์ แต่ถ้าเราแปลตามคำแปลที่อาจารย์ให้ไว้นี้ เราก็จะเห็นได้ชัดนะครับว่าความหมายต่างกันอย่างมาก รวมถึงความรู้สึกของผู้พูดก็แตกต่างกันไปด้วย เรามาดูตัวอย่างประโยคดังนี้นะครับ
を限(
例1.今日を限りに禁煙することにしました。
=วันนี้ถือเป็นวันสุดท้าย ( ที่จะสูบบุหรี่) ต่อไปจะไม่สูบอีกแล้ว
例2.「今日を限りに、もう二度と甘いものを食べない」とダイエットする人はいつも言う。
=คนที่ลดความอ้วนจะพูดอยู่เสมอๆว่า วันนี้(จะกินของหวานเป็นวันสุดท้าย) ต่อไปจะไม่กินของหวานอีกแล้ว
例3.3月を限りにこのクラスはなくなります。
=เดือน3นี้ถือว่าเป็นเดือนสุดท้าย(ที่คลาสเราจะได้อยู่ด้วยกัน ) ต่อไปก็จะแยกจากกันแล้ว
จากตัวอย่างที่อาจารย์ยกมา คงจะพอเข้าใจในไวยากรณ์นี้กันแล้วนะครับ ต่อไปเรามาดูไวยากรณ์ที่คล้ายกันคือ に限ってซึ่งจะใช้ในสองกรณีหลักๆ ดังนี้
1.ใช้ในกรณีที่แปลว่า เฉพาะแต่ … เท่านั้น ในสถานการณ์ปกติทั่วไป โดยจะเน้นถึงความหมายที่ว่า (เฉพาะแต่ในครั้งนี้ โดยครั้งหน้าก็อาจจะมีโอกาสเกิดอีกได้) มาดูตัวอย่างนะครับ
Ex1. 金曜日の朝は女性に限って映画が80バーツで見られる。
=ในเช้าวันศุกร์ เฉพาะแต่ผู้หญิงเท่านั้น ที่สามารถซื้อตัวหนังได้ในราคา 80 บาท
*** จะเน้นว่าเฉพาะแต่เท่านั้น และต่อไปก็อาจจะมีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นอีกได้ แต่ถ้าเราไปใช้ をかぎりมาแทน に限ってในประโยคนี้ จะแสดงให้เห็นว่าต่อไปจะไม่มีการขายราคาตั๋วหนังในราคา 80 บาทในเช้าวันศุกร์อีกเลย
Ex2. 本日に限って卵が100円
=เฉพาะวันนี้เท่านั้นที่ไข่ไก่ราคา ร้อยเยน ( ต่อไปอาจจะมีการจัดการลดราคาแบบนี้อีกก็ได้ )
2.ใช้ในกรณีที่แปลว่า เฉพาะแต่ … เท่านั้น ในสถานการณ์ที่เป็นเหตุการณ์ในเชิงลบ หรือไม่ค่อยดี โดยจะเป็นการเน้นถึงความรู้สึกว่าตอนเวลาปกติไม่ค่อยเกิด แต่เฉพาะเวลาแบบนี้ดันเกิด
Ex1.なんで俺が急いでる時に限ってバスが来ないんだよ。
=ทำไมตอนที่รีบๆรถเมล์มันถึงไม่มาเนี่ย (แสดงความรู้สึกของผู้พูดว่า ตอนนี้ไม่รีบมาทุกที แต่ตอนที่รีบๆดันไม่มา ทำไมต้องเป็นแบบนี้เนี่ย)
Ex2.なんで公衆電話を使う時に限って細かい1バーツのコインがないんだ。
=ทำไมตอนที่จะใช้โทรศัพท์สาธารณะ มันต้องไม่มีเหรียญบาททุกทีเลย (แสดงความรู้สึกของผู้พูดว่า ตอนนี้ไม่อยากจะใช้โทรศัพท์มีเหรียญบาท แต่พอมาตอนที่อยากใช้กลับไม่มีเหรียญบาท)
|
|
|
โครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชียเป็นโครงการให้ทุนแก่ผู้ได้รับคัดเลือก เพื่อสนับสนุนการทำโครงการวิจัยหรือกิจกรรมวิชาชีพในภูมิภาคเอเชีย โดยประเทศสมาชิกโครงการในปัจจุบัน ได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย
โครงการที่เสนออาจเป็นได้หลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบงานวิจัย ภาพยนตร์ บทความเชิงข่าว การรวบรวมข้อมูล การสร้างเครือข่าย งานศิลปะ ฯลฯ และเป็นไปตามเงื่อน 3 ข้อดังนี้
1.ต้องไม่เป็นส่วนหนึ่งของอาชีพหรืองานประจำที่ทำอยู่
2.ต้องสอดคล้องกับเป้าหมายและมีหัวข้อตรงกับประเด็นหลักของโครงการเอพีไอ
3.ต้องมีผลลัพธ์ที่ชัดเจน (ในรูปของงานวิจัย ภาพยนตร์ ภาพถ่ายเล่าเรื่อง และอื่น ๆ)
คุณสมบัติโดยทั่วไปของผู้สมัคร
- ผู้สมัครต้องถือสัญชาติหรือถือสถานะผู้พำนักอาศัยในประเทศสมาชิกที่เข้าร่วม โครงการ และต้องกำลังพำนักอยู่ในประเทศนั้นในระหว่างการสมัครขอรับทุน
- ผู้สมัครต้องมาสัมภาษณ์ตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนดไว้
- ผู้สมัครต้องเสนอโครงการวิจัย และ/หรือกิจกรรมตามวิชาชีพ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2012 และควรดำเนินโครงการให้สำเร็จก่อนสิ้นระยะทุนวันที่ 31 กรกฎาคม 2013
- ผู้สมัครต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษหรือภาษาในประเทศที่จะเดินทางไปดำเนินโครงการวิจัยและ/หรือกิจกรรมตามวิชาชีพ
- ผู้สมัครต้องมีฐานการทำงานอยู่ในภูมิภาคหรือในประเทศสมาชิกในปัจจุบันและต่อเนื่องไปในอนาคต
เอกสารการสมัคร
1.ใบสมัคร
2.ประวัติส่วนตัวโดยละเอียดเป็นภาษาอังกฤษ ไม่ควรยาวเกิน 3 หน้ากระดาษ เกี่ยวกับการศึกษา อาชีพการงาน ผลงานที่ตีพิมพ์ และความสำเร็จด้านต่าง ๆ
3.จดหมายปะหน้า แนะนำตัวผู้สมัครโดยย่อและเหตุผลที่สนใจสมัครขอรับทุนโครงการเอพีไอ
4.ข้อเสนอโครงการ ไม่ควรยาวเกิน 5 หน้ากระดาษ (ดูรายละเอียดในเว็บไซต์ทางการ)
5.จดหมายรับรองสองฉบับ
6. จัดเตรียมเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษคู่กันทั้งหมด
สามารถดาวน์โหลดเอกสารการสมัครได้ที่เว็บไซต์ www.api-fellowships.org
กำหนดการรับสมัคร ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 31 สิงหาคม พ.ศ.2554
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่
โครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชั้น 3 อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 0-2218-7422 โทรสาร 0-2652-5283
ส่งเอกสารประกอบการสมัครที่อีเมล์
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
ส่งคำถามมาได้ที่อีเมล์
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
Tags: สอนญี่ปุ่นN2อาจารย์แบงค์ | สอนภาษาญี่ปุ่นN2ตอนที่7 | สอนภาษาญี่ปุ่นในเวป
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน 2011 เวลา 15:53 น.