-
Section:
News -
-
สอนภาษาญี่ปุ่น
สวัสดีครับ กลับมาพบกับคอลัมน์ สอนภาษาญี่ปุ่นระดับ N4 กับอาจารย์แบงค์ได้ที่นี่อีกครั้งนะครับ สำหรับคนที่รอติดตามอยู่นั้น ครั้งนี้อาจารย์จะนำเรื่องใดมาเขียน ติดตามกันได้เลยนะครับ ซึ่งครั้งนี้ เราจะมาดูความแตกต่างที่น่าสนใจ ในความหมายของ でและ から ที่คนไทยผิดได้บ่อยๆ กัน
คำช่วย で มีหลายความหมาย แต่จะมีความหมายทีเรารู้จักกันดีกันนะครับที่แปลว่า “ด้วย,จาก” ซึ่งในความนี้ อาจารย์เชื่อว่า ทุกๆคนคงจะเคยใช้กันบ่อยแล้วนะครับ แต่ในความหมายลึกๆแล้ว คำช่วย でที่แปลว่าด้วยจาก นั้นมีความหมาย แบบไหนนั้น ลองไปดูกันนะครับ
คำช่วย で ที่มีความหมายว่า “ด้วย,จาก”จะ เป็นคำช่วยที่บอกว่า สิ่งๆนั้นทำจากวัสดุใดๆ หรือจะพูดได้ง่ายๆก็คือ เมื่อทำเสร็จแล้ว เราสามารถเห็นวัสดุเดิมของมันอยู่ มองแล้วรู้ว่าทำมาจากอะไรโดยที่ไม่ต้องคิด หรือเดาดูเลย
例1: この人形は木で作ります=ตุ๊กตานี้ ทำมาจากไม้
เนื่องจากใช้คำช่วย でเราจึงรู้ว่า ตุ๊กตาตัวนี้ ทำมาจากไม้ และเมื่อเรามองแล้วเราจะรู้ทันทีว่าตุ๊กตาตัวนี้ทำมาจากไม้ และเห็นรูปเดิมที่เป็นไม้อยู่
例2:このお菓子は卵とココナッツで作りました=ขนมอันนี้ทำมาจาก ไข่และกะทิ
เนื่องจากใช้คำช่วย で เราจึงรู้ว่า ขนมที่เราเห็นอันนี้ ยังคงสภาพที่จะเห็น ไข่ และกะทิอยู่ เมื่อมองแล้วยังรู้ว่ามีส่วนผสม ของไข่ และกะทิอยู่ด้วยนะครับ
คำช่วย からเป็นคำช่วยที่เราเจอกันบ่อยๆ มีความหมายว่า “จาก”ซึ่งความหมายแตกต่างกันกับคำช่วยでนะครับ เนื่องจาก คำช่วย からเมื่อ ทำเสร็จแล้ว เราจะมองไม่เห็นวัสดุรูปเดิม หรือจะพูดง่ายๆคือ มองแล้ว ไม่รู้ว่าสิ่งนั้นทำมาจากอะไร ต้องใช้การคิด และการวิเคราะห์ก่อนถึงจะรู้ได้
例3:石鹸は脂から作られました。=สบู่ทำมาจากไขมัน
จะเห็นว่า เมื่อเรามองสบู่ เราจะไม่เห็นไขมันประกอบอยู่ เห็นแต่สบู่ที่ได้รับการแปรรูปมาแล้ว ในข้อนี้ จึงใช้คำช่วย からนะครับ
例4:紙は木から作りました=กระดาษทำมาจากต้นไม้
ข้อนี้ก็เหมือนกันนะครับ เมื่อเรามองกระดาษเราไม่สามารถที่จะเห็นเนื้อไม้ได้เลย ถ้าเราไม่ไปวิเคราะห์ก่อนแล้วจะไม่สามารถรู้ได้เลย ว่ากระดาษทำมาจากไม้
พอจะเข้าใจกันแล้วนะครับ สําหรับความแตกต่างกันระหว่างคําช่วย からกับでแล้วนะครับ ครั้งหน้าเราจะไปพบกับอะไร รอติดตามกันต่อไปนะครับ
อาจารย์ แบงค์
|
โครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชียเป็นโครงการให้ทุนแก่ผู้ได้รับคัดเลือก เพื่อสนับสนุนการทำโครงการวิจัยหรือกิจกรรมวิชาชีพในภูมิภาคเอเชีย โดยประเทศสมาชิกโครงการในปัจจุบัน ได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย
โครงการที่เสนออาจเป็นได้หลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบงานวิจัย ภาพยนตร์ บทความเชิงข่าว การรวบรวมข้อมูล การสร้างเครือข่าย งานศิลปะ ฯลฯ และเป็นไปตามเงื่อน 3 ข้อดังนี้
1.ต้องไม่เป็นส่วนหนึ่งของอาชีพหรืองานประจำที่ทำอยู่
2.ต้องสอดคล้องกับเป้าหมายและมีหัวข้อตรงกับประเด็นหลักของโครงการเอพีไอ
3.ต้องมีผลลัพธ์ที่ชัดเจน (ในรูปของงานวิจัย ภาพยนตร์ ภาพถ่ายเล่าเรื่อง และอื่น ๆ)
คุณสมบัติโดยทั่วไปของผู้สมัคร
- ผู้สมัครต้องถือสัญชาติหรือถือสถานะผู้พำนักอาศัยในประเทศสมาชิกที่เข้าร่วม โครงการ และต้องกำลังพำนักอยู่ในประเทศนั้นในระหว่างการสมัครขอรับทุน
- ผู้สมัครต้องมาสัมภาษณ์ตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนดไว้
- ผู้สมัครต้องเสนอโครงการวิจัย และ/หรือกิจกรรมตามวิชาชีพ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2012 และควรดำเนินโครงการให้สำเร็จก่อนสิ้นระยะทุนวันที่ 31 กรกฎาคม 2013
- ผู้สมัครต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษหรือภาษาในประเทศที่จะเดินทางไปดำเนินโครงการวิจัยและ/หรือกิจกรรมตามวิชาชีพ
- ผู้สมัครต้องมีฐานการทำงานอยู่ในภูมิภาคหรือในประเทศสมาชิกในปัจจุบันและต่อเนื่องไปในอนาคต
เอกสารการสมัคร
1.ใบสมัคร
2.ประวัติส่วนตัวโดยละเอียดเป็นภาษาอังกฤษ ไม่ควรยาวเกิน 3 หน้ากระดาษ เกี่ยวกับการศึกษา อาชีพการงาน ผลงานที่ตีพิมพ์ และความสำเร็จด้านต่าง ๆ
3.จดหมายปะหน้า แนะนำตัวผู้สมัครโดยย่อและเหตุผลที่สนใจสมัครขอรับทุนโครงการเอพีไอ
4.ข้อเสนอโครงการ ไม่ควรยาวเกิน 5 หน้ากระดาษ (ดูรายละเอียดในเว็บไซต์ทางการ)
5.จดหมายรับรองสองฉบับ
6. จัดเตรียมเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษคู่กันทั้งหมด
สามารถดาวน์โหลดเอกสารการสมัครได้ที่เว็บไซต์ www.api-fellowships.org
กำหนดการรับสมัคร ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 31 สิงหาคม พ.ศ.2554
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่
โครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชั้น 3 อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 0-2218-7422 โทรสาร 0-2652-5283
ส่งเอกสารประกอบการสมัครที่อีเมล์
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
ส่งคำถามมาได้ที่อีเมล์
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
Tags: สอนญี่ปุ่นN4อาจารย์แบงค์ | สอนภาษาญี่ปุ่นN4ตอนที่2 | สอนภาษาญี่ปุ่นในเวป
แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม 2011 เวลา 16:14 น.