ประกาศการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่นครั้งที่1 เดือนกรกฏาคม 2557
การสมัครสอบวัดระดับความรู้ภาษาญี่ปุ่นครั้งที่ 1 ประจำปี 2557 (กรุงเทพฯ)
วันสอบ
- สอบวันอาทิตย์ที่ 6 กรกฏาคม 2557
** หมายเหตุ ** - ระดับ N4,N5 สอบช่วงเช้า
- ระดับ N1,N2,N3 สอบช่วงบ่าย
กำหนดวันเวลาการขายและยื่นใบสมัคร ดังนี้
1. สมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่น สาขา พหลโยธิน ขายใบสมัคร ตั้งแต่ 19 กุมภาพันธ์-11 เมษายน 2557 (หยุด 6 และ 7 เมษายน 2557) ยื่นใบสมัคร ตั้งแต่ 23 มีนาคม-11 เมษายน 2557 (หยุด 6 และ 7 เมษายน 2557)
วันเวลาทำการ
(จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 18.00 น. วันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 09.00 - 16.00 น.)
2. สมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่น สาขา ศาลาแดง ขายใบสมัคร ตั้งแต่ 19 กุมภาพันธ์-5 เมษายน 2557 ยื่นใบสมัคร ตั้งแต่ 23 มีนาคม-5 เมษายน 2557 วันเวลาทำการ
(จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 18.00 น. วันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 09.00 - 16.00 น.)
3. สมาคมนักเรียนเก่าญี่ปุ่น สาขา ปิ่นเกล้า ขายใบสมัคร ตั้งแต่ 19 กุมภาพันธ์-5 เมษายน 2557 ยื่นใบสมัคร ตั้งแต่ 23 มีนาคม-5 เมษายน 2557
วันเวลาทำการ
(จันทร์ - ศุกร์ เวลา 09.00 - 18.00 น. · วันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 09.00 - 16.00 น.)
หลักฐานในการยื่นใบสมัคร (ขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่สามารถสมัครได้)
1. ใบสมัครที่กรอกสมบูรณ์แล้ว (กรอกด้วยปากกาหมึกดำ หรือ หมึกน้ำเงินและเขียนกดให้เห็นชัดเจนทั้ง 5 แผ่น) 2. ติดรูปถ่ายในบัตรประจำตัวผู้สอบ (Test Voucher) และสำเนาบัตรประจำตัวผู้สอบ (Test Voucher Copy) (รูปถ่ายเหมือนกัน 2 รูป ขนาด 3~4 cm x 3 cm หน้าตรง ไม่ใส่แว่นตาดำ ,ไม่ใส่หมวก และรูปถ่ายไม่เกิน 1 ปี) 3. สำเนาบัตรประชาชน หรือ สำเนาหนังสือเดินทาง หรือสำเนาบัตรประจำตัวนักเรียน (กรณีอายุไม่ถึง 15 ปี) โดยต้องสำเนารูปถ่ายให้ชัดเจนด้วย
ค่าสมัครสอบ
ระดับ N4, N5 ชุดละ 600 บาท ระดับ N1, N2, N3 ชุดละ 800 บาท
วันสอบ
วันอาทิตย์ที่
การสอบ
ระดับ N4, N5 สอบช่วงเช้า ระดับ N1, N2, N3 สอบช่วงบ่าย
สถานที่สอบ
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
หมายเหตุ
- สมัครสอบที่จังหวัดใดจะต้องสอบที่ที่สมัครไว้เท่านั้น
- สมัครสอบได้เพียงระดับเดียวเท่านั้น
- ผู้สมัครที่เป็นผู้พิการ กรุณาแจ้งให้ทราบ เพื่อการจัดเตรียมการสอบ
ระดับ
|
เกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดสำหรับการสอบวัดระดับความรู้ภาษาญี่ปุ่น N1-N5
|
N1
|
สามารถเข้าใจภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ ในวงกว้างได้ (การอ่าน)
- อ่านบทความ บทวิจารณ์ในหนังสือพิมพ์ที่เขียนเกี่ยวกับหัวเรื่องต่าง ๆ ในวงกว้างหรือข้อความที่เป็น แนวตรรกะ มีความซับซ้อน มีความเป็นนามธรรมสูงแล้วสามารถเข้าใจโครงสร้างและเนื้อหาได้ - อ่านเรื่องที่มีหัวข้อหลากหลายและมีเนื้อหาลึกซึ้งแล้วสามาถเข้าใจลำดับเนื้อเรื่องและรายละเอียด สิ่งที่ต้องการสื่อในสำนวน
(การฟัง)
- ฟังบทสนทนา ข่าว การบรรยายที่มีเรื่องราวในสถานการณ์ต่างๆ โดยมีระดับความเร็วในการพูดที่เป็นธรรมชาติและสามารถเข้าใจลำดับเนื้อเรื่อง เนื้อหา ความสัมพันธ์ของบุคคลและโครงสร้างความเป็นมาของเนื้อหาอย่างละเอียดและจับประเด็นได้
|
N2
|
สามารถเข้าใจภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในสถานการณ์ชีวิตประจำวันได้ และสามารถเข้าใจภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในสถานการณ์ในวงกว้างได้ในระดับหนึ่ง (การอ่าน) - อ่านบทความที่มีประเด็นชัดเจนอย่างเช่น บทความในหนังสือพิมพ์หรือนิตยสารที่เขียนเกี่ยวกับหัว เรื่องต่างๆ ในวงกว้าง หรือคำอธิบายหรือบทวิจารณ์ง่ายๆ และสามารถเข้าใจเนื้อหาของบทความได้ (การฟัง) - ฟังบทสนทนา ข่าว ที่มีเรื่องราวในสถานการณ์ต่างๆ รวมทั้งสถานการณ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวันโดยมีระดับความเร็วในการพูดที่เป็นธรรมชาติ แล้วสามารถเข้าใจลำดับเนื้อเรื่อง เนื้อหา ความสัมพันธ์ของบุคคลและจับประเด็นได้
|
N3
|
สามารถเข้าใจภาษาญี่ปุ่นที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้ในระดับหนึ่ง (การอ่าน) - อ่านบทความที่มีเนื้อหาเป็นรูปธรรมที่เป็นหัวเรื่องเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน แล้วสามารถเข้าใจได้ สามารถจับใจความคร่าวๆ ของข้อมูลที่มาจากหัวข้อข่าว เป็นต้น - หากให้ข้อความที่ใช้สำนวนอีกแบบหนึ่ง จะสามารถเข้าใจความสำคัญของข้อความที่พบเห็นในชีวิตประจำวันที่ค่อนข้างมีความยากได้ (การฟัง) - ฟังบทสนทนาที่เป็นเรื่องราวในชีวิตประจำวันโดยมีระดับความเร็วในการพูดใกล้เคียงกับระดับธรรมชาติ แล้วสามารถพอจะเข้าใจเนื้อหารวมทั้งความสัมพันธ์ของบุคคลได้
|
N4
|
สามารถเข้าใจภาษาญี่ปุ่นในระดับพื้นฐาน (การอ่าน) - สามารถอ่านและเข้าใจบทความที่มีหัวข้อใกล้ตัวในชีวิตประจำวัน ซึ่งเขียนด้วยคำศัพท์ ตัวอักษรคันจิระดับพื้นฐานได้ (การฟัง) - ฟังบทสนทนาในชีวิตประจำวันที่พูดช้าเล็กน้อย และสามารถเข้าใจเนื้อหานั้นได้เป็นส่วนใหญ่
|
N5
|
สามารถเข้าใจภาษาญี่ปุ่นพื้นฐานได้ในระดับหนึ่ง (การอ่าน) - สามารถเข้าใจถ้อยคำ ประโยค บทความตามรูปแบบที่กำหนด ซึ่งเขียนด้วยตัวอักษรฮิระงะนะ คะตะคะนะ และตัวอักษรคันจิระดับพื้นฐานที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้ (การฟัง) - ฟังบทสนทนาสั้นๆ ที่พูดช้าๆ ในสถานการณ์ที่พบบ่อยในชีวิตประจำวัน เช่น ในห้องเรียน ฯลฯ และสามารถเข้าใจข้อมูลที่สำคัญจากบทสนทนานั้นได้
|
|