เอเจนซีส์ - การ์ตูน “เก็น เจ้าหนูสู้ชีวิต” หรือ Hadashi No Gen ได้เป็นข่าวครึกโครมไปทั่วญี่ปุ่น เมื่อบอร์ดการศึกษาของเมืองมัตสุ ที่ตั้งอยู่ทางเหนือขึ้นไปของเมืองฮิโรชิมา ญี่ปุ่น ได้ตัดสินใจไม่อนุญาตให้นักเรียนของรัฐระดับประถมศึกษาและมัธยมตอนต้นอ่านหนังสือการ์ตูนชุดนี้ เนื่องมาจากเนื้อหาของการ์ตูนในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้นแสดงถึงญี่ปุ่นในภาพลักษณ์ด้านลบ ที่รวมถึงความโหดร้ายของทหารญี่ปุ่นและผู้หญิงถูกทำการทารุณทางเพศ รายงานจากอาซาฮี ชิมบุน
การ์ตูน “เก็น เจ้าหนูสู้ชีวิต” หรือ Hadashi No Gen ผลงานของอาจารย์เคอิจิ นางาซาวา ออกตีพิมพ์ครั้งแรกใน หนังสือการ์ตูนรายสัปดาห์โชเน็งจัมป์ ในปี 2516 โดยเป็นเรื่องราวของเด็กชายเก็นในวัย 7 ปี อยู่ในเหตุการณ์อเมริกาทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ในเมืองฮิโรชิมาในช่วงปี 1945 และหนังสือการ์ตูนชุดนี้ได้ถูกจัดจำหน่ายในประเทศไทยในปี 2549 โดยสำนักพิมพ์มติชน
โดยเนื้อหาของการ์ตูนชุดนี้ที่ถูกถ่ายทอดจากประสบการณ์ในวัยเด็กของผู้แต่งที่อยู่ในวัย 6 ปี กำลังเดินไปโรงเรียนและจู่ๆระเบิดนิวเคลียร์ถูกหย่อนลงมา ผู้ใหญ่ที่เดินไปด้วยกันถูกเผาจนเสียชีวิตที่ตรงนั้น ในขณะที่ทั้งพ่อและพี่น้องของอาจารย์นางาซาวาเสียชีวิตทั้งหมดในบ้านที่ไฟไหม้จนพังลงมาทับ ด้านอาจารย์นางาซาวานั้นเสียชีวิตด้วยมะเร็งปอดในวัย 73 ปี ในเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเวลาเดียวกันที่บอร์ดการศึกษาของเมืองมัตสุ ที่ตั้งอยู่ทางเหนือขึ้นไปของเมืองฮิโรชิมา ญี่ปุนได้ตัดสินใจให้ขอให้โรงเรียนของรัฐระดับชั้นประถมและมัธยมศึกษาตอนต้นทั้ง 49 แห่ง ไม่อนุญาตให้เด็กนักเรียนสามารถอ่านหนังสือการ์ตูนชุดนี้ได้ด้วยตนเอง แต่ครูที่สอนยังสามารถใช้การ์ตูนชุดนี้เป็นสื่อการสอนได้ การห้ามไม่ให้เด็กๆ ในเมืองมัตสุอ่านการตูน “เก็น เจ้าหนูสู้ชีวิต” เนื่องมาจากคำร้องของผู้ปกครองคนหนึ่งที่อยู่ในเมืองอ้างว่าการ์ตูนชุดนี้มีภาพแสดงความโหดร้ายที่ชัดเจนเกินไปของทหารญี่ปุ่นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 “เด็กๆ ที่ได้อ่าน “เก็น เจ้าหนูสู้ชีวิต” จะมองประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นแบบผิดๆ เพราะการ์ตูนชุดนี้บรรยายถึงความโหดร้ายของกองทัพจักรพรรดิในช่วงสงครามโลกทั้งๆ ที่มันไม่เคยเกิดขึ้นจริง” ประชาชนในเมืองมัตสุเผย
และเจ้าหน้าที่การศึกษาของเมืองกล่าวว่า “เราไม่ได้สั่งให้เอาหนังสือการ์ตูน “เก็น เจ้าหนูสู้ชีวิต” ออกจากห้องสมุดของโรงเรียน เรารู้ว่าการ์ตุนชุดนี้หาค่าไม่ได้ “ยาสุโนริ ฟูรุกาว่า รองผู้อำนวยการบอร์ดการศึกษาเมืองมัตสุกล่าวต่อว่า “แต่เราไม่คิดว่าเนื้อหาบางส่วนของการ์ตูนชุดนี้จะเหมาะกับเด็กจากมุมมองของนักการศึกษา และ “เก็น เจ้าหนูสู้ชีวิต” นั้นถูกใช้เป็นสื่อการสอนที่สื่อด้านสันติภาพไม่ใช่ความรุนแรงหรือความโหดร้าย”
จากข้อมูลของบอร์ดการศึกษาของเมืองพบว่า กว่า 80% ของโรงเรียนทั้งหมดในเมืองมัตสุ หรือโรงเรียนรัฐระดับประถมศึกษา 35 โรง และโรงเรียนรัฐฯระดับมัธยมต้น 17 โรง ต่างมีหนังสือการ์ตูนชุดนี้เก็บไว้ในห้องสมุดของโรงเรียน
ในขณะที่ภรรยาหม้ายของอาจารย์เคอิจิ นางาซาวา มิซาโยะ นากาซาวา เผยว่า อดีตสามีผู้ล่วงลับของเธอจำเป็นต้องนำเสนอความโหดร้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2 ระเบิดนิวเคลียร์ และเรื่องที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นกับเยาวชนญี่ปุ่นเพื่อเป็นบทเรียนที่จะไม่ให้เกิดขึ้นอีกครั้ง
“เข้าใจว่ามันมีฉากความรุนแรงอยู่ในนั้นอาจมากเกินไปสำหรับเด็กๆ แต่ความโหดร้ายที่เกิดขึ้นจริงในสมัยนั้นมันห่างไกลเกินกว่าที่จะสามารถวาดออกมาได้” ภรรยาหม้ายของนักแต่งอ้างคำพูดของสามีเธอ |
ปกการ์ตูน “ เก็น เจ้าหนูสู้ชีวิต ” |
แผนที่เมืองมัตสุ |
ที่มา ผู้จัดออนไลน์ |
< ย้อนกลับ | ถัดไป > |
---|