ทีมนักวิทยาศาสตร์จาก Riken BioResource Center กล่าวในรายงานในวารสาร Biology of Reproduction ว่า การโคลินนิ่งใช้วิธีการหมุนเวียนเซลล์เลือด ที่เก็บตัวอย่างจากหางของหนูที่ได้รับการบริจาค ที่เป็นหนูเพศเมียที่มีช่วงชีวิตปกติ ทั้งนี้ หนูหนึ่งตัวถูกสร้างขึ้นมาจากเซลล์บริจาคที่มาจากหลายแหล่ง ที่รวมถึงเซลล์เม็ดเลือดขาวที่พบในปุ่มน้ำเหลือง ไขกระดูก และตับ นอกจากนั้น นักวิทยาศาสตร์ญี่ปุ่นยังได้ทำการสังเกตว่าเซลล์เลือดที่มีการหมุนเวียนนี้ สามารถใช้ในการโคลนนิ่งได้หรือไม่ เพื่อต้องการทราบถึงแหล่งของเซลล์บริจาคเพื่อใช้ในการโคลนนิ่งหนูในห้อง ปฏิบัติการทดลอง ทีมนักวิจัยที่นำโดยนายอัตสึโอะ โองุระ จาก Riken BioResource Center ที่เมืองสึคุบะ นำตัวอย่างเลือดจากหางของหนูที่ได้รับการบริจาค และทำการแยกเซลล์เม็ดเลือดขาว และใช้นิวเคลียสสำหรับการทดลองโคลนนิ่ง โดยใช้เทคนิคเดียวกับการสร้างแกะดอลลี สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เกิดจากการโคลนนิ่งตัวแรกของโลก รายงานระบุว่า การศึกษาได้ชี้ให้เห็นว่าหนูสามารถถูกโคลนนิ่งได้ โดยใช้นิวเคลียสของเซลล์เลือดส่วนปลาย โดยเซลล์เหล่านี้ สามารถนำไปใช้ในการโคลนนิ่งได้ทันทีหลังการเก็บรวบรวม และไม่จำเป็นต้องทำให้สัตว์ที่ได้รับการบริจาคเสียชีวิต เทคนิคดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้ด้วยกลไกทางพันธุกรรมกับการสร้างสาย พันธุ์หนู ที่ไม่สามารถ เกิดขึ้นได้โดยเทคนิคการเจริญพันธุ์อื่นๆ อาทิ การปฏิสนธิในหลอดแก้ว หรือเทคนิคการฉีดอสุจิเพียงตัวเดียวเข้าไปในไข่โดยไม่รอให้เกิดการปฏิสนธิ กันเอง หรืออิ๊กซี่ ก่อนหน้านี้ทีมนักวิจัยจากสถาบันได้เปิดเผยว่า สามารถผลิตหนูได้เกือบ 600 ตัว จากหนูที่ได้รับบริจาคเพียงตัวเดียว หลังจากผ่านการทำโคลนนิ่ง 25 ครั้ง โดยมีเป้าหมายเพื่อการสร้างสัตว์ที่มีคุณภาพสูงสำหรับใช้ในการเกษตรและเพื่อ การอนุรักษ์
ข้อมูลจาก ผู้จัดการ ออนไลน์ |
< ย้อนกลับ | ถัดไป > |
---|