ผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นเผยความฝันแดนอาทิตย์อุทัยกลายเป็นผู้ผลิตน้ำมันได้ หากพยายามต่อยอดนวัตกรรมจากความสาเร็จในห้องปฏิบัติการที่สามารถเลี้ยงสาหร่าย 2 สายพันธุ์รวมกันในน้ำเสีย แล้วให้ผลผลิตเป็นน้ำมันและยังมีส่วนช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้
ดร.สึโยชิ อาเบะ (Dr.Tsuyoshi Abe) นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญด้านสาหร่าย จากพิพิธภัณฑ์แห่งมหาวิทยาลัยฮอกไกโด (Hokkaido University) ญี่ปุ่น เผยว่าขณะนี้นักวิจัยญี่ปุ่นได้ทดลองเลี้ยงสาหร่าย 2 ชนิดร่วมกันในน้ำเสียเพื่อผลิตน้ำมัน คือ สาหร่ายออรันทิโอไคเทรียม (Aurantiochytrium) ที่สังเคราะห์สารอินทรีย์และผลิต “สควอลีน” (Squalene) ซึ่งเป็นสารไฮโดรคาร์บอน และสาหร่ายโบทริโอค็อคคัส (Botryococcus) ซึ่งสังเคราะห์แสงและคาร์บอนไดออกไซด์ และผลิตโบทริโอค็อคซิเนส (Botryococcenes) สารไฮโดรคาร์บอนและผลิตสารที่ผลักไฮโดรคาร์บอนออกมานอกเซลล์
ขณะที่ ดร.อาภารัตน์ มหาขันธ์ นักวิชาการประจำฝ่ายวิทยาศาสตร์ชีวภาพ และผู้เชี่ยวชาญด้านการเพาะเลี้ยงสาหร่ายสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ซึ่งร่วมบรรยายพิเศษเรื่อง “สาหร่ายเพื่อมวลมนุษย์” (Algae for humankind) ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2556 เช่นเดียวกับ ดร.อาเบะ กล่าวว่าการเลี้ยงสาหร่าย 2 สายพันธุ์ร่วมกันเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก อีกทั้ง การใช้น้ำเสียเลี้ยงสาหร่ายนั้นไม่สามารถทำได้ทุกสายพันธุ์ โดยสภาพของน้ำเสียจะเป็นตัวกำหนดว่าจะเลี้ยงสาหร่ายชนิดใดได้
|
ดร.สึโยชิ อาเบะ นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญด้านสาหร่าย จากพิพิธภัณฑ์แห่งมหาวิทยาลัยฮอกไกโด |
ดร.อาภารัตน์ ชนะขันธ์ กับภาพตัวอย่างสาหร่ายที่ญี่ปุ่นผลิตน้ำมันโดยเลี้ยงในน้ำเสียได้ในระดับห้องปฏิบัติการ (บน) สาหร่ายออรันทิโอไคเทรียม (Aurantiochytrium) ที่สังเคราะห์สารอินทรีย์และผลิต “สควอลีน” (Squalene) ซึ่งเป็นสารไฮโดรคาร์บอน และสาหร่ายโบทริโอค็อคคัส (Botryococcus) ซึ่งสังเคราะห์แสงและคาร์บอนไดออกไซด์ และผลิตโบทริโอค็อคซิเนส (Botryococcenes) สารไฮโดรคาร์บอนและผลิตสารที่ผลักไฮโดรคาร์บอนออกมานอกเซลล์
ที่มา ผู้จัดการออนไลน์ |
< ย้อนกลับ | ถัดไป > |
---|