ในช่วงฤดูกาลของอากาศที่หนาวเย็นในช่วงนี้ หากได้ดื่มชาเขียวร้อนๆ ซักถ้วยก็คงจะชื่นใจไม่น้อย ไม่เพียงแต่ประเทศญี่ปุ่นที่นิยมดื่มชาเขียวเท่านั้น ประเทศอื่นๆ ทั่วโลกก็หันมานิยมดื่มชาเขียวกันเป็นจำนวนมากอีกด้วย ในประเทศไทยก็เหมือนกันการดื่มชาเขียว หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของชาเขียวก็ได้รับการตอบรับที่ดีด้วยเช่นกัน เรียกได้ว่ามีผลิตภัณฑ์ต่างๆ ออกมาอย่างแพร่หลายเลยทีเดียว ที่ประเทศจีนเค้าดื่มชาเขียวกันเพราะพิสูจน์แล้วว่าสามารถรักษาโรคได้ และที่ประเทศญี่ปุ่นนอกจากเป็นสมุนไพรและชงดื่มในชีวิตประจำแล้ว คนญี่ปุ่นเชื่อกันว่า ชาเขียว เป็นอะไรได้มากกว่านั้น |
มาทราบความเป็นมาคร่าวๆ ของต้นกำเนิดชาเขียวในประเทศญี่ปุ่นกันดีกว่า ญี่ปุ่นเรียกชาเขียวว่า เรียวคุชะ (Ryokucha , 緑茶) เท้าความถึงการการค้นพบชา ในประเทศจีนก่อน โดยเริ่มต้นที่มณฑลยูนนาน ประเทศจีน เมื่อสมัยยุคเริ่มต้นของอารยธรรมมนุษย์ ประมาณห้าพันปีมาแล้ว ค้นพบโดยจักรพรรดิในตำนานของจีน เสินหนงสื่อ ผู้ที่ไดัรบสมญานามว่า เทพเจ้าของชาวนา และยังเป็นผู้ที่ชอบค้นคว้ายาสมุนไพรต่างๆ อีกด้วย ด้วยความที่เป็นคนชอบดื่มน้ำต้มสุกอยู่เป็นประจำ มีอยู่วันหนึ่งขณะที่ เสินหนงสื่อ กำลังนั่งเล่นอยู่แถวต้นชาในป่าเขา และกำลังต้มน้ำอยู่ ลมได้พัดใบชาร่วงหล่นลงมาในน้ำที่กำลังเดือดได้ที่ เมื่อเค้าลองดื่มดูก็เกิดความรู้สึกสดชื่นเป็นอย่างมาก และแล้วการดื่มชาในประทศจีนก็ได้ถือกำเนิดขึ้นมา |
และการเข้ามาของชาในประเทศญี่ปุ่นนั้น เริ่มในสมัยตอนต้นยุคเฮอัน ในสมัยนั้นจีนและญี่ปุ่นเริ่มมีการติดต่อทางด้านศาสนาพุทธและวัฒนธรรมกัน บ้างแล้ว นักบวชญี่ปุ่นได้เดินทางไปเป็นทูตเรียนรู้เรื่องต่างๆ จากประเทศจีนรวมทั้งการศึกษาตัวยาสมุนไพรจากจีนอีกด้วย เพราะฉะนั้น ชา จึงเข้ามาครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นโดยพระสงฆ์นั่นเอง เริ่มจากนักบวช Eichu จากวัด Bonshakuji จังหวัดไอจิ ได้นำชาอัดแข็ง (ต้องฝนกันหินก่อนแล้วใส่น้ำร้อนถึงจะดื่มได้ ) และเมล็ดชาจำนวนไม่มาก เข้ามาที่ญี่ปุ่นก่อน เมื่อจักรพรรดิ Saga ได้เข้ามาเยี่ยมพระ Eichu ที่วัด พระ Eichu จึงชงชาใส่ถ้วยนำมาถวาย เมื่อองค์จักรพรรดิได้ดื่มชาก็เกิดความประทับใจในรสชาติ จึงสั่งให้นำเมล็ดชาไปปลูกที่สวนสมุนไพรในบริเวณราชวัง ชาได้แพร่หลายในแถบภูมิภาคคินคิ เกียวโต แต่ความนิยมยังอยู่ในเฉพาะกลุ่มชนชั้นสูงเท่านั้น |
ต่อมาในช่วงตอนต้น ยุคคามาคุระ นักบวช Eisai ผู้ก่อตั้งนิกาย Rinzai หนึ่งในพุทธศาสนาเซน ได้นำเมล็ดชามาจากจีนเป็นจำนวนมากพร้อมกับกรรมวิธีการผลิตชากลับมาด้วย นั่นก็คือการดื่มชาในสไตล์ Matcha นั่นเอง นักบวช Eisai ได้ส่งเสริมการเพาะปลูกชาเพื่อใช้เป็นสมุนไพรให้แพร่หลายมากขึ้น และ มีประโยคหนึ่งในหนังสือที่เค้าเขียนไว้ว่า “ชาเป็นพื้นฐานทางจิตใจและเป็นเครื่องมือแพทย์ที่ดีที่สุด ทำให้ชีวิตถูกเติมเต็มและมีความสมบูรณ์มากขึ้น” เริ่มมีการค้นคว้าสรรพคุณของชา ที่ช่วยดับกระหายได้ ช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น และช่วยล้างพิษด้วยการขับสารพิษออกทางปัสสาวะอีกด้วย สมัยนั้นนักบวช Eisai ได้แนะนำให้โชกุน มินาโมโตะ ซาเนะโมโตะ ที่ทนทุกข์ทรมานจากการดื่มสุราอย่างหนัก ได้ลองดื่มชาและอาการของโชกุนก็หายไปในที่สุด ต่อมา นักบวช Eisai ก็ได้เดินทางเพื่อออกเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับชาไปทั่วญี่ปุ่น จากนั้นชาจึงกลายมาเป็นส่วนหนึ่งพิธีกรรมบางอย่างและใช้เพื่อการรักษาโรค และยังเป็นเครื่องดื่มที่นิยมดื่มเพื่อสุขภาพกันมากขึ้นอีกด้วย |
ต่อมาในสมัยยุคมุโระมาจิ เริ่มมีพิธีชงชาในแบบฉบับดั้งเดิมของญี่ปุ่นแล้ว เรียกว่า Chanoyu และในยุคนี้การชงชานั้นเริ่มมีการผสมผสานทางด้านความคิดจิตวิญญาณ การสร้างสรรค์ศิลปะในแบบธรรมชาติเข้ามาเกี่ยวข้องแล้ว และเริ่มมีการลงรายละเอียดในภาชนะที่ใช้ในพิธีชงชา รวมไปถึงการเสิร์ฟชาเขียวในร้านอาหารอีกด้วย การดื่มชายังเป็นที่นิยมในงานพบปะสังสรรค์ของชนชั้นนักรบมากขึ้น แต่เป็นการดื่มชาเพื่อเล่นเกมส์ทายปัญหาต่างๆ เพื่อชิงรางวัลเป็นเหล้าสาเก และมีการร้องเล่นเต้นรำไปด้วย ต่อมานักบวชเซน Shuko Murata ไม่เห็นด้วยกับการดื่มชาเพื่อความสนุกสนานเช่นนั้น เขาคิดว่า โลกแห่งความเรียบง่ายของเซนนั้นมีแนวคิดแตกต่างออกไปในการดื่มชา การดื่มชาด้วยความเรียบง่ายและมีสมาธิในแบบของเซนจะช่วยให้จิตใจสามารถพัฒนา ขึ้นได้อย่างสมบูรณ์ นักบวชจึงออกแบบห้องพิธีชงชาขนาดเล็ก เพื่อใช้สนับสนุนการชงชาตามอุดมคติของนักบวช Eisai และในขณะที่ชงชานั้นก็ได้ผสมผสานจิตวิญญาณของพุทธศาสนานิกายเซนไปด้วย
และผู้ที่วางแผนและให้กำเนิดประเพณีการชงชาในแบบฉบับญี่ปุ่นอย่างแท้จริงก็คือ Sen Rikyu เขาได้เป็นประธานพิธีชงชาหลายต่อหลายงานที่ใช้งบในพิธีอย่างฟุ่มเฟือยในสมัย โชกุน โนะบุนะงะ โอดะ และสืบต่อมาในสมัยโชกุน โทโยโตมิ ฮิเดโยชิ ในสมัยนี้ชาเริ่มมีส่วนเกี่ยวข้องกับแนวคิดในด้านศิลปะหัตถกรรมเครื่องปั้น ดินเผาต่างๆ การออกแบบสวนญี่ปุ่น และอาหารญี่ปุ่น ต่อมาในสมัยยุคเอ โดะ พิธีชงชาและการดื่มชาเริ่มมีการขยายวงกว้างลงมาถึงชนชั้นล่างมากขึ้น แต่กระนั้นเมื่อถึงการเก็บเกี่ยวชาที่ดีที่สุดในช่วงแรกของปีก็ต้องส่งมอบ ให้กับชนชั้นซามูไรก่อน ส่วนชาที่ชาวบ้านดื่มกันจะเป็นชาที่เก็บเกี่ยวในครั้งต่อมาคุณภาพก็จะด้อยลง มา |
ต่อมาในสมัยยุคเมจิ การผลิตชามีมากขึ้น มีหนังสือเทคนิคต่างๆ ออกมาอย่างแพร่หลาย เริ่มมีเครื่องจักรเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต และเริ่มมีการส่งออกชาไปยังต่างประเทศแล้ว และปริมาณการส่งออกยังเป็นที่สองรองจากประเทศจีนอีกด้วย แม้การส่งออกจะกระท่อนกระแท่นไปบ้างในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เพราะตอนนั้นชาดำเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในต่างประเทศ และไม่นานในศตวรรษที่ 20 ชาเขียวก็ได้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของผู้คนทั้งประเทศญี่ปุ่นและ แพร่หลายออกมาทั่วโลกอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
- ชาอูหลง หลังเก็บเกี่ยวจะนำใบชามาตากแดดจนเป็นสีน้ำตาล ทำให้ใบชาเกิดกระบวนการหมักตัวทำให้มีรสชาติและกลิ่นหอมเข้มข้น เป็นชาที่ไม่มีรสชาติและไม่มีน้ำตาล เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก - ชาดำ หลังเก็บเกี่ยวจะนำใบชามาไปบดด้วยลูกกลิ้งก่อน อบด้วยไอน้ำหรือเป่าด้วยความร้อน และนำไปตากแดดจนเป็นสีดำ นำมาบดหรือหั่นก็ได้ การดื่มชาดำยังช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจได้ด้วย
ข้อมูลจาก http://en.wikipedia.org/wiki/Green_tea |
< ย้อนกลับ | ถัดไป > |
---|