รสชาติของนัตโตะนั้น หลายๆคนที่ไม่เคยกินอาจจะนึกไม่ออก แต่ถ้าคนที่เคยกินก็จะรู้เลยนะครับว่าประมาณ อะไรที่หนืดๆ เหนียวๆ และมีกลิ่นฉุนเหมือนอะไรที่เน่าอยู่ แต่จุดนั้นแหละครับที่เป็นเสน่ห์ของมันที่ทำให้คนติดใจในความเน่าจนคิดว่ามันหอมซะเหลือเกิน
รูปตัวอย่าง แสดงความเหนียวหนืดของ นัตโตะญี่ปุ่น พูดแบบนี้ไม่ใช่ว่าคนญี่ปุ่นทุกคนจะชอบนัตโตะ(納豆)นะครับ คนญี่ปุ่นหลายคนที่กินนัตโตะไม่ได้ก็มีอยู่มากมาย เป็นอาหารญี่ปุ่นประเภทหนึ่งซึ่งคนญี่ปุ่นนิยมรับประทานร่วมกับข้าวสวยเป็นอาหารมื้อเช้า นัตโตะสามารถทำได้จากการนำเอาถั่วเหลืองมาหมักกับแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Bactillus Subtilis Natto หรือภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า นัตโตะ-คิน(納豆菌)
รูปตัวอย่างแบคทีเรียที่อยู่ในถั่วเน่านัตโตะ ที่มีชื่อเรียกว่า นัตโตะ-คิน(納豆菌) โดยในวันนี้อาจารย์จะมาเปิดเผยขั้นตอนการทำนัตโตะ หรือถั่วเน่าให้ทุกคนได้ดูกันนะครับว่า ไอ้ถั่วเน่าหรือที่คนไทยเรียกกันว่านัตโตะนั้นมันทำกันอย่างไร ขั้นตอนการผลิตนัตโตะนั้นก็เริ่มจากการนำถั่วเหลืองมาแช่น้ำค้างคืน แล้วเอาเปลือกออก จากนั้นก็นำถั่วไปต้มหรือนึ่งให้สุก แล้วเติมเชื้อ Bacillus ลงไปแล้วหมักที่อุณหภูมิประมาณ 40 องศาเซลเซียส ประมาณ 20 ชั่วโมง จากนั้นทำให้เย็นลงจนถึงอุณหภูมิปกติ
ขั้นตอนต่อมาคือการใช้สเปรย์เชื้อ Bacillus subtilis (納豆菌) ลงในถั่วซึ่งผ่านการต้มมาแล้ว เชื้อนี้สามารถทนอุณหภูมิประมาณ 40 องศาเซลเซียสได้ ดังนั้นการใส่เชื้อที่อุณหภูมิดังกล่าวจึงมีข้อดีคือลดการปนเปื้อนจาก จุลินทรีย์ชนิดอื่นได้อีกด้วย
รูปตัวอย่าง การนำถั่วเหลืองมาแช่น้ำค้างคืน แล้วหมักที่อุณหภูมิประมาณ 40 องศาเซลเซียส
รูปตัวอย่าง การใช้ฟางข้าวห่อถั่วเหลือง แล้วนำไปบ่ม
รูปตัวอย่าง ของถั่วนัตโตะที่บ่มเสร็จพร้อมรับประทาน โดยส่วนมากมักจะนำมาใส่ในกล่องโฟมเล็กๆ
ประโยชน์และคุณค่าทางสารอาหาร 1.ช่วยลดโคเลสเตอรอล 2. ป้องกันโรคหัวใจ 3.ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด 4.ลดโอกาสการเกิดเส้นเลือดในสมองแตกได้ 5. ผลการวิจัยล่าสุดในปี 2009 พบว่านัตโตะสามารถช่วยป้องกันหรือรักษาโรคอัลไซเมอร์ได้อีกด้วย เห็นประโยชน์แบบนี้แล้ว การที่คนญี่ปุ่นอายุยืนที่สุดในโลกอาจจะเป็นเพราะนัตโตะอันนี้ก็ได้นะครับ คนที่ไม่เคยกินอาจารย์แนะนำให้ลองกินดูนะครับ ในตอนต่อไปเราจะมารเจาะลึกถึงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของนัตโตะกันนะครับ ติดตามกันให้ดีทางหน้าเวปเลยนะครับ เนื้อเรื่องและรายละเอียดโดย อาจารย์แบงค์ ภาพประกอบโดย ทีมงานโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นอาจารย์แบงค์
|
< ย้อนกลับ | ถัดไป > |
---|