มาไกลกันถึงตอนที่ 9 กันแล้วนะครับ สำหรับคอลัมน์สอนภาษาญี่ปุ่นระดับ N2 ช่วงนี้ ถือว่าเป็นช่วงที่รอผลสอบวัดระดับกันอยู่นะครับ สำหรับผู้เรียนที่สอบวัดระดับไปในครั้งแรก ผลจะออกประมาณต้นเดือน 9 อาจารย์ก็ขอให้ผู้สอบที่ตั้งใจเรียนอย่างจริงจัง สมหวังในการสอบทุกคนนะครับ สำหรับรายละเอียดการสอบวัดระดับครั้งที่ 2 ใน เดือน ธันวาคม และการแจ้งผลการสอบ อาจารย์ได้ลงรายละเอียดไว้ในหน้าเวปแล้ว ใครยังไม่รู้ไปอ่านกันได้นะครับ สำหรับวันนี้เราจะไปดูไวยากรณ์ตัวที่ออกมาในข้อสอบวัดระดับในระบบใหม่ ครั้งล่าสุด ที่สอบผ่านกันไปในวันที่ 4 กรกฎาคม 2010 กันนะครับ ไวยากรณ์ตัวนี้ มีตัวที่คล้ายกันอยู่หลายตัว อาจารย์จะสรุปรวมทั้งหมดมาให้ในขอบเขตระดับ N1ดังนี้นะครับ
ไวยากรณ์นี้ เป็นหนึ่งในไวยากรณ์ระดับ N2 ที่ ออกข้อสอบบ่อย และมีผู้เรียนสับสนกันมาก เนื่องจากเป็นชุดไวยากรณ์ที่คล้ายกัน และผู้เรียนบางคนท่องแค่ ตัวเดียว หรือสองตัวไปสอบ ทำให้ไม่เพียงพอต่อความรู้ที่จะนำไปสอบ ลองไปดูกันเลยนะครับ
Vる+べき เป็นภาษาพูดที่ใช้บ่อยมากในชีวิตประจำวัน ส่วนมากใช้เชื่อมกับคำนาม จุดที่อาจารย์เน้นที่มีนักเรียนผิดบ่อยคือ หลังจากเอาคำนามมาต่อแล้ว ห้ามมี のมาเชื่อมเด็ดขาด เช่น やるべき=ควรจะทำ à やるべきこと=เรื่องที่ควรจะทำ ห้ามใช้เป็น
อีกจุดที่ต้องระวังคือ V する+べきมักจะใช้เป็นรูปย่อ คือ すべき
例文1:言うべきことははっきり言ってください。 =เรื่องที่ควรจะพูดก็กรุณาพูดให้ชัดเจน
例文2:人に悪いことなんかしたら、きちんと謝 =ถ้าทำเรื่องแย่ๆกับใครไป ก็ควรจะขอโทษให้อย่างจริงใจ
例文3:日本で留学 =มีเรื่องที่ควรจะเตรียมตัวมากมายก่อนที่จะไปศึกษาต่อที่ประเทศญี่ปุ่น
โดยถ้าเราจะทำ Vる+べきเป็นรูป ปฏิเสธ ก็จะได้เป็นดังนี้นะครับ
例文1:お金が稼 =เด็กที่ยังหางเงินไม่ได้ ไม่ควรจะซื้อขอแพงๆ
例文2:学歴 =ไม่ควรจะตัดสินคนจากภายนอก หรือจาก การศึกษา
นอกจากนี้ยังมีไวยากรณ์ที่คล้ายกัน และออกข้อสอบบ่อยๆดังนี้
例文1:許可 =ถ้าไม่มีคำอนุญาตห้ามลัดสนามหญ้า
例文2:店で売っている商品を触 =ห้ามสัมผัสสินค้าที่ขายอยู่ที่ร้าน
ไวยากรณ์นี้จะคล้ายกับ べからず ซึ่งมีผู้เรียนสับสนมาก ในหนังสือบางเล่มแปลความหมายเหมือนกันกับ べからず ทำให้ผู้เรียนส่วนมาก งงกับความแตกต่าง และแยกไม่ออก อาจารย์จะแปลความหมายให้ชัดเจนมากขึ้น และจะเน้นไว้เลยนะครับว่า べからざるจะต้องตามด้วย N ไม่สามารถจบด้วย べからざるเฉยๆได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
例文1:彼は私にとって欠 =เขาเป็นคนที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับฉัน
例文2:この行為 =เจตนานี้เป็นเจตนาที่ยกโทษให้ไม่ได้
ตอน นี้คงจะพอเข้าใจกับชุดไวยากรณ์ต่างๆในรูปนี้กันแล้วนะครับ ข้อสอบวัดระดับN2ในระบบใหม่ จะเน้นไวยากรณ์ตัวที่คล้ายๆกันมากขึ้นและข้อสอบหนึ่งข้อ จะไม่ได้มีแค่ไวยากรณ์เดียว แต่จะเอาหลายๆไวยากรณ์มาปนกัน ทำให้ผู้เรียนสับสนกันมาก ดังนั้นต้องแม่นไวยากรณ์ให้มากขึ้นกว่าเดิมนะครับ ครั้งต่อไปจะเจอกับไวยากรณ์ตัวไหนที่น่าสนใจติดตามกับ คอลัมน์สอนภาษาญี่ปุ่นระดับ N2 ในครั้งต่อไปนะครับ ส่วนใครที่รอผลสอบอยู่อาจารย์ก็ขอให้สอบผ่านสมกับที่เราได้ตั้งใจไว้นะครับ
ขอบคุณครับ
อาจารย์แบงค์ |
< ย้อนกลับ | ถัดไป > |
---|