-
Section:
News -
-
สอนภาษาญี่ปุ่น
มาถึงตอนที่ 8 กันแล้วนะครับ สำหรับคอลัมน์สอนภาษาญี่ปุ่นระดับ N1 ในตอนนี้ถือว่าเป็นช่วงโค้งสุดท้ายใกล้สอบกันแล้ว สำหรับผู้ที่จะเตรียมสอบวัดระดับระบบใหม่ ครั้งที่1 ในเดือน 7 นี้ เนื่องจากเป็นระบบใหม่ หลายสิ่งหลายอย่างก็ยังดูใหม่สำหรับผู้สอบ รวมถึงเรื่องคะแนนที่ผ่าน ก็ยังไม่ตัดสินว่าเท่าไรถึงผ่าน เนื่องจากทางญี่ปุ่น ต้องการดูคะแนนเฉลี่ยของผู้สอบก่อนนะครับ นอกจากนี้ ในระดับ N1ยังจะมี ไวยากรณ์ใหม่ๆ ในระดับ N1 ที่เพิ่มขึ้นจากเดิมค่อนข้างมาก วันนี้เราจะลองมาดูกันนะครับ ว่าไวยากรณ์ที่ว่านั้นเป็นยังไง
สอนภาษาญี่ปุ่นระดับ N1 ตอนที่ 8 Update 20/6/2010
|
ไวยากรณ์นี้ เป็นหนึ่งในไวยากรณ์ระดับ N1 ซึ่ง เพิ่มเข้ามาใหม่ที่ในระบบเก่า ไม่ได้ถูกตีพิมพ์ในหนังสือเล่มไหน แต่อาจารย์เห็นว่าน่าสนใจเนื่องจากเป็นภาษาพูดที่ใช้กันโดยทั่วไป และไม่ยาก แต่ถ้าคนไม่เคยเจอมาก่อน อาจจะงงได้ว่ามันแปลว่าอะไรนะครับ เรามาดูไวยากรณ์ตัวที่ว่ากันเลย
Vた+ことにしてください = แกล้งทำเป็น…. ,ทำเป็น ….
|
Vた+ことにしてください = เป็น ไวยากรณ์ที่ใช้กันในภาษาพูดทั่วไป ที่ผู้เรียนส่วนใหญ่มักจะมองข้ามนะครับ ซึ่งในการสอบภาษาญี่ปุ่นระบบใหม่ ก็ได้เพิ่มไวยากรณ์นี้เข้าไปด้วยนะครับ
|
Vた+ことにしてください มีความหมายว่า แกล้งทำเป็น…. ,ทำเป็น …. ซึ่งในความจริงแล้ว ตรงกันข้ามกับสิ่งที่แกล้งทำ ดังตัวอย่างต่อไปนี้
例文1:山田:この話は聞かなかったことにしてください。
=กรุณาแกล้งทำเป็นไม่ได้ยินเรื่องนี้
山下:うん、分かった。
=อือ เข้าใจแล้ว
จากตัวอย่างจะเห็นนะครับว่า จริงๆแล้ว คุณ山下รู้เรื่องเรื่องนี้ดี ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นเรื่องดังกล่าว
例文2:田中:ともみちゃん先生に聞かれたら分かったことにしてくださいよ。
そうしないと叱られるから。
=โทโมมิจัง ถ้าถูกอาจารย์ถาม ให้แกล้งทำเป็นรู้นะ ไม่งั้นถูก
อาจารย์ ดุแน่ๆ
ともみ:そうか、そうしよう
=งั้นหรอ เอางั้นก็ได้
จากตัวอย่างที่สอง จะเห็นแล้วนะครับว่า田中ให้โทโมมิแกล้งทำเป็นรู้เรื่องเมื่อถูกอาจารย์ถาม จึงใช้รูปประโยค分かったことにしてくださいよมาใช้ในกรณีนี้นะครับ
ตอนนี้คงจะพอเข้าใจกับไวยากรณ์ใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในระดับ N1 กันไปแล้วนะครับ คราวหน้าจะเจอกับไวยากรณ์ใหม่ตัวไหน ติดตามกันให้ดีนะครับ
ขอบคุณครับ
อาจารย์แบงค์ |
โครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชียเป็นโครงการให้ทุนแก่ผู้ได้รับคัดเลือก เพื่อสนับสนุนการทำโครงการวิจัยหรือกิจกรรมวิชาชีพในภูมิภาคเอเชีย โดยประเทศสมาชิกโครงการในปัจจุบัน ได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย
โครงการที่เสนออาจเป็นได้หลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบงานวิจัย ภาพยนตร์ บทความเชิงข่าว การรวบรวมข้อมูล การสร้างเครือข่าย งานศิลปะ ฯลฯ และเป็นไปตามเงื่อน 3 ข้อดังนี้
1.ต้องไม่เป็นส่วนหนึ่งของอาชีพหรืองานประจำที่ทำอยู่
2.ต้องสอดคล้องกับเป้าหมายและมีหัวข้อตรงกับประเด็นหลักของโครงการเอพีไอ
3.ต้องมีผลลัพธ์ที่ชัดเจน (ในรูปของงานวิจัย ภาพยนตร์ ภาพถ่ายเล่าเรื่อง และอื่น ๆ)
คุณสมบัติโดยทั่วไปของผู้สมัคร
- ผู้สมัครต้องถือสัญชาติหรือถือสถานะผู้พำนักอาศัยในประเทศสมาชิกที่เข้าร่วม โครงการ และต้องกำลังพำนักอยู่ในประเทศนั้นในระหว่างการสมัครขอรับทุน
- ผู้สมัครต้องมาสัมภาษณ์ตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนดไว้
- ผู้สมัครต้องเสนอโครงการวิจัย และ/หรือกิจกรรมตามวิชาชีพ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2012 และควรดำเนินโครงการให้สำเร็จก่อนสิ้นระยะทุนวันที่ 31 กรกฎาคม 2013
- ผู้สมัครต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษหรือภาษาในประเทศที่จะเดินทางไปดำเนินโครงการวิจัยและ/หรือกิจกรรมตามวิชาชีพ
- ผู้สมัครต้องมีฐานการทำงานอยู่ในภูมิภาคหรือในประเทศสมาชิกในปัจจุบันและต่อเนื่องไปในอนาคต
เอกสารการสมัคร
1.ใบสมัคร
2.ประวัติส่วนตัวโดยละเอียดเป็นภาษาอังกฤษ ไม่ควรยาวเกิน 3 หน้ากระดาษ เกี่ยวกับการศึกษา อาชีพการงาน ผลงานที่ตีพิมพ์ และความสำเร็จด้านต่าง ๆ
3.จดหมายปะหน้า แนะนำตัวผู้สมัครโดยย่อและเหตุผลที่สนใจสมัครขอรับทุนโครงการเอพีไอ
4.ข้อเสนอโครงการ ไม่ควรยาวเกิน 5 หน้ากระดาษ (ดูรายละเอียดในเว็บไซต์ทางการ)
5.จดหมายรับรองสองฉบับ
6. จัดเตรียมเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษคู่กันทั้งหมด
สามารถดาวน์โหลดเอกสารการสมัครได้ที่เว็บไซต์ www.api-fellowships.org
กำหนดการรับสมัคร ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 31 สิงหาคม พ.ศ.2554
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่
โครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชั้น 3 อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 0-2218-7422 โทรสาร 0-2652-5283
ส่งเอกสารประกอบการสมัครที่อีเมล์
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
ส่งคำถามมาได้ที่อีเมล์
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
Tags: สอนญี่ปุ่นN1อาจารย์แบงค์ | สอนภาษาญี่ปุ่นN1ตอนที่8 | สอนภาษาญี่ปุ่นในเวป
แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม 2011 เวลา 16:10 น.