-
Section:
News -
-
สอนภาษาญี่ปุ่น
มาถึงตอนที่ 8 กันแล้วนะครับ สำหรับคอลัมน์สอนภาษาญี่ปุ่นระดับ N5 ในตอนนี้ถือว่าเป็นช่วงโค้งสุดท้ายใกล้สอบกันแล้ว สำหรับผู้ที่จะเตรียมสอบวัดระดับระบบใหม่ ครั้งที่1 ในเดือน 7 นี้ เนื่องจากเป็นระบบใหม่ หลายสิ่งหลายอย่างก็ยังดูใหม่สำหรับผู้สอบ รวมถึงเรื่องคะแนนที่ผ่าน ก็ยังไม่ตัดสินว่าเท่าไรถึงผ่าน เนื่องจากทางญี่ปุ่น ต้องการดูคะแนนเฉลี่ยของผู้สอบก่อนนะครับ อาจารย์ขออวยพรให้นักเรียนทุกคน ตั้งใจกับเวลาที่เหลือให้เต็มที่ และใช้สิ่งที่เราเรียนมาให้เต็มที่ในเวลาสอบ และขอให้สอบผ่านนะครับ
สอนภาษาญี่ปุ่นระดับ N5 ตอนที่ 8 Update 20/6/2010
|
ไวยากรณ์นี้ เป็นหนึ่งในไวยากรณ์ที่ใช้บ่อยๆ ในระดับ N5 ซึ่งก็จะออกข้อสอบในระดับ N4 ด้วยนะครับ นั่นก็คือไวยากรณ์ つもりซึ่งจะใช้บ่อยมากในภาษาพูด และข้อสอบที่ออกมาบ่อยๆนะครับ โดยรูปแบบไวยากรณ์ของ つもりที่เจอบ่อยๆ อาจารย์สรุปมาให้ดังนี้นะครับ
VDict+つもりだ/です= ตั้งใจที่จะทำ ( เป็นการตั้งใจอย่างแน่วแน่ และตั้งใจจริงๆ)
|
ตัวอย่างประโยค
1) 明日
Vない+つもりだ/です= ตั้งใจที่จะไม่ทำ ( เป็นการตั้งใจอย่างแน่วแน่ และตั้งใจจริงๆ)
|
|
สวัสดีครับ กลับมาพบกับคอลัมน์สอนภาษาญี่ปุ่นระดับ 4 นะครับ มีหลายคนอีเมล์มาสอบถามอาจารย์ว่าอยากจะอ่านคอลัมน์สอนภาษาญี่ปุ่นระดับ 4 ต่อ เพราะติดตามอ่านอยู่ตลอด ซึ่งมีอีเมลมาอย่างมากมาย อาจารย์ก็ดีใจนะครับที่มีคนติดต่ามอ่านคอมลัมน์มากขนาดนี้ คอลัมน์สอนภาษาญี่ปุ่นยังไม่ไปไหนนะครับ ยังจะอยู่ให้ความรู้อยู่ที่นี่ ต่อไปเรื่อยๆ และอาจารย์ก็จะพยายามมาอัฟเดทบ่อยๆ เพื่อทุกๆคนที่ศึกษาภาษาญี่ปุ่นนะครับ
สอนภาษาญี่ปุ่นระดับ N5 ตอนที่ 4
|
***จากประสบการณ์ในการสอนของอาจารย์พบว่า ส่วนใหญ่แล้ว นักเรียนจะผันกริยาให้เป็นรูป て、たไม่ค่อยคล่องกัน ซึ่งรูปて、たนี้เป็นรูปที่ถือว่าเป็นพื้นฐานอย่างมากในภาษาญี่ปุ่น ถ้าผันไม่ได้ การเรียนต่อยอดไปก็จะลําบากนะครับ
ดังนั้นอาจารย์จึงสรุปหลักการผันกริยาให้เป็นรูป て、たมาให้ดูและท่องจำให้ขึ้นใจกันอีกทีนะครับ
หลักการผันกริยาให้เป็นรูป て, たในกรณีที่เป็น V 1
V ที่ลงท้ายด้วย う,つ,る+っ+て/たเช่น まつàまって、まった
V ที่ลงท้ายด้วย く,ぐ+い+て/たเช่น みがくàみがいて、みがいた
V ที่ลงท้ายด้วย ぬ,ぶ,む+ん+で/だเช่น よむàよんで、よんだ
V ที่ลงท้ายด้วยすà Vます+て/たเช่น はなすàはなして、はなした
**หมายเหตุ ถ้า V ลงท้ายด้วย ぐจะต้องเปลี่ยนจาก て,たà で,だ
|
หลักการผันกริยาให้เป็นรูป て, たในกรณีที่เป็น V 1กันไปแล้ว คราวนี้เรามาลองมาฝึกผันกันดูเลยนะครับ
書(か)く หลักการผันให้เป็นรูป て、た ขั้นแรกเราจะมาดูว่ากริยาตัวนั้นๆว่าเป็น V กลุ่มไหนก่อน วิธีการดูอาจารย์ได้เขียนไว้ใน คอลัมน์ สอนภาษาญี่ปุ่นระดับ 4 ครั้งที่ 1 ไว้แล้ว ใครจำไม่ได้ลองไปดูนะครับ ขั้นต่อมาพอเรารู้ว่า 書(か)くเป็น V1 ก็ให้เราไปดูที่หางของกริยาตัวนั้นๆก่อนว่าเป็นอะไรนะครับ จะเห็นชัดๆว่า 書(か)くมีหางคือ くดังนั้นเราก็ต้องใช้หลักที่อาจารย์ได้ให้ไว้เมื่อกี้ ผันจาก くàいดังนี้
書(か)く+い+て、たà書(か)いて、書(か)いた นะครับจะเห็นว่าไม่ยากเลย ซึ่งรูปสองรูปนี้จะสามารถเอาไปพูดต่อได้เป็นหลายๆแบบ เช่น 書(か)いて=เขียนสิ หรือ 書(か)いてください=กรุณาเขียน หรือ 書(か)いた=เขียนแล้ว ซึ่งเราจะกล่าวในบทต่อๆไปนะครับ
ลองมาดูตัวอื่นกันบ้างนะครับ
読(よ)むเป็น เป็น V1 หางลงด้วยตัว むตามหลักจะต้องเปลี่ยนหางเป็น んแล้ว+ て、たดังนี้
読(よ)む+ん+ て、たà読(よ)んで、読(よ)んだ
คราวนี้ลองมาทำแบบฝึกหัดกันดูนะครับ (เฉลยอยู่ด้านล่าง ห้ามแอบมองก่อนนะ)
แบบฝึกหัด จงเปลี่ยนกริยาต่อไปนี้ให้เป็นรูป て
1. 歩(ある)く=
2.話(はな)す=
3.聞(き)く=
4. 死(し)ぬ=
5.書(か)く=
6.買(か)う=
7.歌(うた)う=
8. 急(いそ)ぐ=
9.待(ま)つ=
10.座(すわ)る=
-------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คำเฉลย
1. 歩(ある)くà歩(ある)いて
2.話(はな)すà話(はなし)して
3.聞(き)くà聞(き)いて
4. 死(し)ぬà死(し)んで
5.書(か)くà書(か)いて
6.買(か)うà買(か)って
7.歌(うた)うà歌(うた)って
8. 急(いそ)ぐà急(いそ)いで
9.待(ま)つà待(ま)って
10.座(すわ)るà座(すわ)って
เป็นยังไงบ้างครับ ถูกไปกันคนละกี่ข้อ ครั้งต่อไปจะพบกับไวยากรณ์ในแบบใด ติดตามกันให้ดีนะครับ
อาจารย์แบงค์
Tags: สอนญี่ปุ่นN5อาจารย์แบงค์ | สอนภาษาญี่ปุ่นN5ตอนที่8 | สอนภาษาญี่ปุ่นในเวป
แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 30 ธันวาคม 2011 เวลา 15:44 น.