-
Section:
News -
-
สอนภาษาญี่ปุ่น
ระดับ N3 ถือว่าเป็นระดับที่เกิดขึ้นมาใหม่ในระบบการสอบวัดระดับระบบใหม่ ซึ่งมีความยาก และเนื้อหาอยู่ระหว่างกลางระหว่างระดับ 2,3 ในระบบเก่า จุดประสงค์เพื่อที่จะให้บุคคลผู้ที่มีความรู้ระดับ 3 ในระบบเก่า มีพื้นฐานที่แน่น และไม่เป็นการเรียนที่เร่งมากไปนัก เพื่อไปสู่ระดับสอง ที่ยากกว่าเป็นอย่างมาก ดังนั้น ระดับ N3 ในการสอบรูปแบบใหม่นี้ จึงถือว่าเป็นระดับที่มีความสำคัญที่สุดก็ว่าได้นะครับ เนื่องจากเป็นส่วนที่เชื่อมต่อระหว่าง ภาษาญี่ปุ่นในระดับต้น กลาง และสูง รวมไว้ด้วยกัน โดยถ้าใครพื้นฐานแน่น ก็สามารถเรียนต่อในระดับที่สูงกว่าได้อย่างง่ายดาย วันนี้เราจะมาดูไวยากรณ์ตัวไหนเราไปดูกันเลยนะครับ
สอนภาษาญี่ปุ่นระดับ N3 ตอนที่ 1 Update 1/5/2010
ไวยากรณ์นี้ เป็นหนึ่งในไวยากรณ์ระดับ N3 ที่ถือว่าเป็นพื้นฐานและใช้บ่อยที่สุดเลยก็ว่าได้นะครับ สำหรับไวยากรณ์ としてซึ่งจะมีอยู่หลายรูปแบบด้วยกันที่ใช้กันนะครับ นั่นก็คือ として/としては/
としても/としての ซึ่ง อาจารย์จะเน้นเสมอว่า เราไม่ต้องไปจำในรูปแบบอื่นๆ เพราะมันก็คือคำช่วยที่ติดมากับไวยากรณ์นั่นเอง โดยถ้าเราแม่นในเรื่องคำช่วยแล้ว เราก็จะรู้ว่าเราจะใช้คำช่วยตัวไหนติดกับไวยากรณ์ としてได้นะครับ
として= เป็น , ในฐานะที่เป็น
*** として ใช้แสดง สถานะ สถานภาพ คุณสมบัติ บาบาท หน้าที่ ประเภท ซึ่งหลายคนจะชอบแปลเฉพาะในความหมายว่า “ในฐานะที่เป็น” เพียงอย่างเดียว แต่ความหมายที่ใช้บ่อยๆมีอีกความหมายนะครับ “เป็น” เรามาดูตัวอย่างกันนะครับ
例1.私の母は会社員として勤
=แม่ของฉันเป็นครู
*** สังเกต นะครับว่าในประโยคนี้ ถ้าเราแปลว่าในฐานะที่เป็น แทนคำว่าเป็น คำแปลจะไม่เข้ากันเลย ดังนั้นในการแปลประโยคต่างๆจะต้องดูให้ดีๆด้วยนะครับว่าความหมายไหนเหมาะสม กับอะไรด้วยนะครับ
例2.田中さんのお母さんは看護士(
อาจารย์ แบงค์
|
โครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชียเป็นโครงการให้ทุนแก่ผู้ได้รับคัดเลือก เพื่อสนับสนุนการทำโครงการวิจัยหรือกิจกรรมวิชาชีพในภูมิภาคเอเชีย โดยประเทศสมาชิกโครงการในปัจจุบัน ได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย
โครงการที่เสนออาจเป็นได้หลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบงานวิจัย ภาพยนตร์ บทความเชิงข่าว การรวบรวมข้อมูล การสร้างเครือข่าย งานศิลปะ ฯลฯ และเป็นไปตามเงื่อน 3 ข้อดังนี้
1.ต้องไม่เป็นส่วนหนึ่งของอาชีพหรืองานประจำที่ทำอยู่
2.ต้องสอดคล้องกับเป้าหมายและมีหัวข้อตรงกับประเด็นหลักของโครงการเอพีไอ
3.ต้องมีผลลัพธ์ที่ชัดเจน (ในรูปของงานวิจัย ภาพยนตร์ ภาพถ่ายเล่าเรื่อง และอื่น ๆ)
คุณสมบัติโดยทั่วไปของผู้สมัคร
- ผู้สมัครต้องถือสัญชาติหรือถือสถานะผู้พำนักอาศัยในประเทศสมาชิกที่เข้าร่วม โครงการ และต้องกำลังพำนักอยู่ในประเทศนั้นในระหว่างการสมัครขอรับทุน
- ผู้สมัครต้องมาสัมภาษณ์ตามวัน เวลา และสถานที่ที่กำหนดไว้
- ผู้สมัครต้องเสนอโครงการวิจัย และ/หรือกิจกรรมตามวิชาชีพ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2012 และควรดำเนินโครงการให้สำเร็จก่อนสิ้นระยะทุนวันที่ 31 กรกฎาคม 2013
- ผู้สมัครต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษหรือภาษาในประเทศที่จะเดินทางไปดำเนินโครงการวิจัยและ/หรือกิจกรรมตามวิชาชีพ
- ผู้สมัครต้องมีฐานการทำงานอยู่ในภูมิภาคหรือในประเทศสมาชิกในปัจจุบันและต่อเนื่องไปในอนาคต
เอกสารการสมัคร
1.ใบสมัคร
2.ประวัติส่วนตัวโดยละเอียดเป็นภาษาอังกฤษ ไม่ควรยาวเกิน 3 หน้ากระดาษ เกี่ยวกับการศึกษา อาชีพการงาน ผลงานที่ตีพิมพ์ และความสำเร็จด้านต่าง ๆ
3.จดหมายปะหน้า แนะนำตัวผู้สมัครโดยย่อและเหตุผลที่สนใจสมัครขอรับทุนโครงการเอพีไอ
4.ข้อเสนอโครงการ ไม่ควรยาวเกิน 5 หน้ากระดาษ (ดูรายละเอียดในเว็บไซต์ทางการ)
5.จดหมายรับรองสองฉบับ
6. จัดเตรียมเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษคู่กันทั้งหมด
สามารถดาวน์โหลดเอกสารการสมัครได้ที่เว็บไซต์ www.api-fellowships.org
กำหนดการรับสมัคร ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 31 สิงหาคม พ.ศ.2554
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่
โครงการปัญญาชนสาธารณะแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชั้น 3 อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 0-2218-7422 โทรสาร 0-2652-5283
ส่งเอกสารประกอบการสมัครที่อีเมล์
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
ส่งคำถามมาได้ที่อีเมล์
อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน
Tags: สอนญี่ปุ่นN3อาจารย์แบงค์ | สอนภาษาญี่ปุ่นN3 | สอนภาษาญี่ปุ่นในเวป
แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม 2011 เวลา 16:17 น.