นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นได้เริ่มการศึกษาที่ว่า ด้วย"ภาษาของหอยนางรม" เพื่อหาว่าพวกมันสื่อสารถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมที่มันอาศัยอยู่กันอย่างไร เหล่านักวิจัยได้เฝ้าสังเกตการเปิดและปิดของฝาและเปลือกของสัตว์จำพวกหอย ต่อการสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงของทะเล เช่นปริมาณอ็อกซิเจนที่ลดลง ที่เรียกว่าปรากฏการณ์ Red tide ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดจากการเพิ่มจำนวนประชากรอย่างมหาศาลของ สาหร่ายเซลล์เดียวในทะเล ที่รับธาตุอาหาร โดยเฉพาะไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และสภาวะที่เหมาะสมจึงเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนขึ้นรวดเร็ว ทำให้น้ำทะเลมีสีที่เปลี่ยนไปตามสีของแพลงก์ตอนที่มีมาก ทำให้เห็นน้ำทะเลเป็นสีแดง นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยคางาวา ได้ใช้เครื่องมือที่มีชื่อเล่นว่า "kai-lingual" หรือ"ภาษาหอย" เพื่อดูว่ามันสามารถอดรหัสการเคลื่อนไหวของบรรดาหอยที่อาจเป็นการส่งสัญญาณ เตือนว่ามีปัญหาใดๆเกิดขึ้น โดยใช้เซ็นเซอร์และคลื่นแม่เหล็กเพื่อส่งข้อมูลในการเปิดและปิดของฝาหอยที่ สนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ เทคนิคดังกล่าวยังไม่เคยมีการนำมาใช้มาก่อนในหอยนางรมที่เลี้ยงในฟาร์ม ขณะที่มีการนำมาใช้บ้างแล้วในฟาร์มเลี้ยงหอยมุกบางแห่ง เพื่อใช้เป็นสัญญาณเตือนต่อการเปลี่ยนแปลงของท้องทะเล ด้านนายซึเนโอะ ฮอนโจ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทางทะเลเซโต มหาวิทยาลัยคางาวา เครื่องมือดังกล่าวจะทำให้ผู้ใช้สามารถได้ยิน"เสียงร้อง"เช่นเดียวกับที่ มนุษย์ร้องเมื่อได้รับบาดเจ็บ ที่เกิดจากการที่หอยได้รับอ็อกซิเจนไม่เพียงพอ และยืนยันว่าการวิจัยที่ดำเนินมาหลายปีนี้สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีบทสนทนาดัง กล่าวจริง และว่าหอยยังคงสื่อให้ทราบว่าพวกมันยังคงสบายดีอยู่
ข้อมูลจาก มติชน ออนไลน์ |
< ย้อนกลับ | ถัดไป > |
---|