นายกฤษดา ทรัพย์ทวยชน เลขาธิการกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของเกาหลีใต้และญี่ปุ่นหลายรายได้พิจารณาย้ายฐานการผลิตออกไปจากประเทศไทยแล้ว เนื่องจากปัญหาน้ำท่วม และนโยบายการขึ้นค่าแรงแบบก้าวกระโดดเฉลี่ยที่ 40% ทั่วประเทศของรัฐบาล โดยส่วนใหญ่ย้ายไปประเทศเพื่อนบ้านของไทย โดยเฉพาะประเทศกัมพูชา ที่มีปริมาณแรงงานจำนวนมาก และค่าจ้างเฉลี่ยที่ 80 บาทต่อวันเท่านั้น กรณีดังกล่าวถือเป็นการย้ายฐานการลงทุนจริงๆ ไม่ใช่เป็นการขู่เหมือนที่ผ่านมา โดยบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ย้ายไปแล้ว เช่น กลุ่มแม็กซอน ซิสเต็มส์ จากประเทศเกาหลีใต้ หรือแม้แต่มินิแบของญี่ปุ่น กำลังพิจารณาย้ายออกจากสวนอุตสาหกรรมโรจนะจังหวัดพระนครศรีอยุธยาไป 1 แห่ง จากปัจจุบันที่มี 3 โรงงาน เพื่อกระจายความเสี่ยงจากปัญหาน้ำท่วมและการเร่งรีบขึ้นค่าแรงในช่วงภาคอุตสาหกรรมประสบปัญหาวิกฤติ รวมถึงบางบริษัทก็ขอสละสิทธิประโยชน์ของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ที่เคยได้รับแล้วเพื่อย้ายไปเพื่อนบ้าน สำหรับผลกระทบความเสียหายในกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ใน 6 นิคมอุตสาหกรรม ประกอบด้วย นิคมฯสหรัตนนคร, สวยฯโรจนะ, นิคมฯ บางปะอิน, นิคมฯไฮเทค, สวนฯนวนคร, สวยฯบางกระดี่ เบื้องต้นพบว่ามีเครื่องจักรจมน้ำจนเสียหายที่ 120,000 ล้านบาท และมีแรงงาน 170,000 คน ซึ่งตรงนี้ไม่รับ รวมโรงงามเอสเอ็มอีที่อยู่นอกนิคมฯ ส่วนการจ่ายค่าจ้างแรงงานส่วนใหญ่จะจ่ายที่ 75% ตามที่กฎหมายกำหนดแต่ที่น่าเป็นห่วงเอสเอ็มอีที่ไม่มีเงินเพียงพอในการจ่ายค่าจ้างในระยะยาวให้กับลูกจ้าง "กลุ่มไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือเรื่องการลดภาษีหัก ณ ที่จ่ายจาก 3% เหลือ 0.5% กับกลุ่มที่รับช่วงผลิตต่อ รวมถึงการลดการส่งเงินประกันสังคมเป็นเวลา 1 ปี เพื่อลดภาระของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี"
ข้อมูลจาก ไทยรัฐ ออนไลน์ |
< ย้อนกลับ | ถัดไป > |
---|